ใบงานที่ 3
พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ หรือ
พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบบ
คอมพิวเตอร์
ซัพพลายของคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะการทำงาน คือทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก
220 โวลต์ เป็น 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์
ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย
ในคอมพิวเตอร์จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามเคส คือแบบ AT และแบบ ATX
ประเภทของพาวเวอร์ซัพพลาย
ประเภทของ Power Supply แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ
- AT เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้กันในประมาณ พ.ศ. 2539 โดยปุ่มเปิด - ปิด การทำงานเป็นการต่อตรงกับแหล่งจ่ายไฟ ทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์บางตัว เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือซีพียู ที่ต้องอาศัยไฟในชั่วขณะหนึ่ง ก่อนที่จะเปิดเครื่อง (วิธีดูง่ายๆ จะมีสวิตซ์ปิดเปิด จากพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย)
- ATX เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยมีการพัฒนาจาก AT
โดยเปลี่ยนปุ่มปิด - เปิด ต่อตรงกับส่วนเมนบอร์ดก่อน
เพื่อให้ยังคงมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนที่จะปิดเครื่อง
ทำให้ลดอัตราเสียของอุปกรณ์ลง โดยมีรุ่นต่างๆ ดังนี้
- ATX 2.01 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปที่ใช้ตัวถังแบบ ATX สามารถใช้ได้กับเมนบอร์ดแบบ ATX และ Micro ATX
- ATX 2.03 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์แบบ Server หรือ Workstation
ที่ใช้ตัวถังแบบ ATX (สังเกตว่าจะมีสายไฟเพิ่มอีกหนึ่งเส้น ที่เรียกว่า AUX
connector)
- ATX 2.01 แบบ PS/3 ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวถังแบบ Micro ATX และเมนบอร์ดแบบ Micro ATX เท่านั้น
ส่วนต่างๆ ของพาวเวอร์ซัพพลาย
- ไฟกระแสสลับขาเข้า (AC Input) พลังงานไฟฟ้าในส่วนนี้ จะมาจากปลั๊กไฟ
โดยที่รู้แล้วว่าไฟที่ใช้กันอยู่จะเป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่มีขนาดแรงดัน 220v
ความถี่ 50 Hz
เมื่อเสียบปลั๊กไฟกระแสไฟฟ้าก็จะวิ่งตามตัวนำเข้ามายังเครื่องใช้ไฟฟ้า
- ฟิวส์
(Fuse)
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการป้องกันวงจรพาวเวอร์ซัพพลายทั้งหมดให้รอดพ้นอันตราย
จากกระแสไฟแรงสูงที่เกิดขึ้นจากการถูกฟ้าผ่า
หรือกระแสไฟฟ้าแรงสูงในรูปแบบต่างๆ
โดยหากเกิดกระแสไฟฟ้าแรงสูงเกินกว่าที่ฟิวส์จะทนได้
ฟิวส์ตัวนี้ก็จะตัดในทันทีทันใด
- วงจรกรองแรงดัน วงจรกรองแรงดันนี้จะทำหน้าที่กรองแรงดันไฟไม่ว่าจะเป็นแบบกระแสสลับ หรือกระแสตรงก็ตาม ที่เข้ามาให้มีความบริสุทธิ์จริงๆ เพื่อป้องกันแรงดันไฟฟ้าที่ผิดปกติเช่นไฟกระชาก ซึ่งจะเป็นผลให้วงจรต่างๆ ในพาวเวอร์ซัพพลายเกิดความเสียหายขึ้นได้
- ภาคเรคติไฟเออร์ (Rectifier) หลังจากที่ไฟกระแสสลับ 220v
ได้วิ่งผ่านฟิวส์
และวงจรกรองแรงดันเรียบร้อยแล้วก็จะตรงมายังภาคเรคติไฟเออร์
โดยหน้าที่ของเจ้าเรคติไฟเออร์ ก็คือ การแปลงไฟกระแสสลับ
ให้มาเป็นไฟกระแสตรง ซึ่งก็ประกอบไปด้วย
- ตัวเก็บประจุ (Capacitor) จะทำหน้าที่ทำปรับให้แรงดันไฟกระแสตรงที่ออกมาจากบริดเรคติไฟเออร์ ให้เป็นไฟกระแสตรงที่เรียบจริงๆ
- ไดโอดบริดจ์เรคติไฟเออร์ (Bridge Rectifier) ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของตัว IC หรือแบบที่นำไดโอด 4 ตัวมาต่อกันให้เป็นวจรบริดจ์เรคติไฟเออร์
- วงจรสวิตชิ่ง (Switching) เป็นวงจรที่ใช้ในการทำงานร่วมกับวงจรควบคุม
(Contrlo Circuit) เพื่อตรวจสอบว่าควรจะจ่ายแรงดันทั้งหมดให้กับระบบหรือไม่
โดยถ้าวงจรควบคุมส่งสัญญาณมาให้กับวงจรสวิตซิ่งว่าให้ทำงาน
ก็จะเริ่มจ่ายแรงดันไฟฟ้าที่ได้จากภาคเรคติไฟเออร์ไปให้กับหม้อแปลงต่อไป
- หม้อแปลงไฟฟ้า
(Transformer)
หม้อแปลงที่ใช้ในวงจรสวิตชิ่งซัพพลายจะเป็นหม้อแปลงที่มีหน้าที่ในการแปลงไฟที่ได้จากภาคสวิตชิ่ง
ซึ่งก็รับแรงดันไฟมาจากภาคเรติไฟเออร์อีกต่อหนึ่ง
โดยแรงดันไฟฟ้ากระแสงตรงที่มีค่าแรงดันสูงขนาดประมาณ 300 v
ดังนั้นหม้อแปลงตัวนี้ก็จะทำหน้าที่ในการแปลงแรงดันไฟกระแสตรงสูงนี้ให้มีระดับแรงดันที่ลดต่ำลงมา
เพื่อที่จะสามารถใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
ก่อนที่จะส่งไปให้วงจรควบคุมแรงดันต่อไป
- วงจรควบคุมแรงดัน (Voltage Control)
เป็นวงจรที่จะกำหนดค่าของแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้รับมาจากหม้อแปลงไฟฟ้า
เพื่อที่จะให้ได้ระดับแรงดันที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ต่างๆ
โดยค่าของระดับแรงดันไฟฟ้านี้ก็จะมีขนาด 5v และ 12v
สำหรับพาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้กับเมนบอร์ดแบบ AT
แต่ถ้าเป็นพาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้กับเมนบอร์ดที่เป็นแบบ ATX
ก็จะต้องมีวงจรควบคุมแรงดันให้ออกมามีขนาด 3.3v เพิ่มอีกหนึ่ง
(ซึ่งซีพียูรุ่นเก่าที่ใช้แรงดันไฟขนาด 3.3 v
นี้ก็สามารถที่จะดึงแรงดันไฟในส่วนนี้ไปเลี้ยงซีพียูได้เลย)
- วงจรควบคุม เป็นวงจรที่ใช้ในการควบคุมวงจรสวิตชิ่ง
ว่าจะให้ทำการจ่ายแรงดันไปให้กับหม้อแปลงหรือไม่
และแน่นอนว่าในส่วนนี้จะทำงานร่วมกับวงจรลอจิกที่อยู่บนเมนบอร์ด
เมื่อวงจรลอจิกส่งสัญญาณกลับมาให้แก่วงจรควบคุม
วงจรควบคุมก็จะสั่งการให้วงจรสวิตชิ่งทำงาน
หลักการทำงานของพาวเวอร์ซัพพลาย
พาวเวอร์ซัพพลาย ทั้งแบบ AT และ ATX นั้นมีลักษณะการทำงานที่เหมือนกัน
คือรับแรงดันไฟจาก 220-240 โวลต์ โดยผ่านการควบคุมด้วยสวิตช์ สำหรับ AT
และเมนบอร์ด แล้วส่งแรงดันไฟส่วนหนึ่งกลับไปที่ช่อง AC output
เพื่อเลี้ยงตัวมอนิเตอร์ และจะส่งแรงดันไฟ 220 โวลต์
อีกส่วนหนึ่งเข้าสู่หน่วยการทำงานที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟสลับ 220 โวลต์
ให้เป็นไฟกระแสตรง 300 โวลต์ โดยไม่ผ่านหม้อแปลงไฟ ระบบนี้เรียกว่า
(Switching power supply )
และผ่านหม้อแปลงที่ทำหน้าที่แปลงไฟตรงสูงให้เป็นไฟตรงต่ำ
โดยจะฝ่านชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กำหนดแรงดันไฟฟ้าอีกชุดหนึ่งแบ่งให้เป็น 5
และ 12 ก่อนที่จะส่งไปยังสายไฟและตัวจ่ายต่างๆ โดยความสามารถพิเศษของ
Switching power supply ก็คือ มีชุด Switching
ที่จะทำการตัดไฟเลี้ยงออกทันทีเมื่อมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟตัวใดตัว
หนึ่งชำรุดเสียหาย หรือช็อตนั่นเอง
เมื่อเรารู้ข้อมูลอย่างคร่าว ๆ ของ power supply กันไปแล้ว ต่อมาเราก็จะทำความรู้จัก กับสาย power supply จะมีสาย connector ต่าง ๆ
ซึ่งแต่ล่ะสายก็จะทำหน้าที่จ่ายไฟไปในอุปกรณ์ที่ต่างกัน ดังภาพ
การเลือกซื้อ power supply
อุปกรณ์ที่มีความสำหรับของคอมพิวเตอร์ที่ขาดไม่ได้เลยคือ Power Supply
เพราะเป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับคอมพิวเตอร์ภายในเคสและภายนอกด้วย
ดังนั้นการเลือก Power Supply จึงมีความสำคัญ
ซึ่งตามท้องตลาดมีหลายราคาและมีระดับกำลังไฟฟ้าที่แตกต่างกัน
ก็เลยมีปัญหาว่าจะซื้อราคาไหน กำลังไฟเท่าไหร่จึงจะเพียงพอในการใช้งาน
ซึ่งมีหน่วยเป็นวัตต์
หากเราเลือกเกินก็จะทำให้สิ้นเปลืองไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น และมีราคาสูงด้วย
แต่ถ้าใช้วัตต์ที่น้อยก็จะไม่มีกระแสไฟฟ้าที่เพียงพอในการทำงานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ก็จะเกิดความเสียหายในระยะยาว
ซึ้งผู้ผลิตได้จำหน่ายไว้หลากหลายรุ่น
การคำนวณวัตต์ของอุปกรณ์ทั้งหมด
การที่เราจะคำนวณวัตต์ได้นั้นไม่สามารถที่จะให้แม่นยำได้ว่าอุปกรณ์ที่เราใช้งานอยู่ใช้กำลังไฟเท่าไหร่
ซึ่งมีการคำคะเนไว้เท่านั้น
เพราะในแต่ละอุปกรณ์ที่เราใช้นั้นใช้ไฟไม่เท่ากัน
ยิ่งคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมีความจำเป็นที่จะใช้ไฟฟ้ามากขึ้น
ขึ้นอยู่กับการทำงานของคอมพิวเตอร์ด้วย
หากคอมพิวเตอร์ทำงานหนักก็ใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ส่วนมากมักจะใช้ไฟอยู่ที่ 450 – 550 วัตต์ อย่างเช่น เครื่องที่ใช้
Intel Core i3 กินไฟน้อยกว่า Intel Core i7
และหากเครื่องคอมพิวเตอร์มีจำนวนอุปกรณ์ที่มากก็มีความต้องการไฟที่มากเช่นกัน
บางเครื่องหากมีอุปกรณ์มากและมีประสิทธิภาพสูงอาจจะต้องใช้ 800
วัตต์เลยก็ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยี่ห้อของ Power Supply ก็มีความสำคัญ
ยี่ห้อ Power Supply มีความสำคัญอย่างไร
จะเห็นได้ว่ายี่ห้อของ Power Supply
นั้นมีหลายยีห้อ และมีหลายราคาตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทไปจึงถึงหลายพันก็มี
จึงมีคำถามว่าราคาแพงแต่มีจำนวนวัตต์ที่เท่ากันนั้นดีหรือไม่แล้วของถูกใช้งานได้หรือไม่สามารถใช้งานได้ทั้งสองอย่างแต่มีข้อแตกต่างกัน
มาตรฐานในการจ่ายกระแสไฟฟ้านั้นเองการที่จะจ่ายกระแสไฟฟ้านั้นจะต้องเต็มจำนวนวัตต์และมีความนิ่งในการจ่ายไฟไม่เช่นนั้นจะทำให้อุปกรณ์นั้นเสียหาย
สำหรับ Power Supply
ที่มียี่ห้อนั้นจะถูกออกแบบตามลักษณะของตัวเองมีแผงวงจรที่สามารถควบคุมกระแสไฟฟ้าให้จ่ายไฟนิ่ง
และจ่ายไฟฟ้าได้เต็มจำนวนวัตต์ที่ได้ระบุไว้ฉลาก
หากเป็นราคาถูกก็สามารถใช้งานได้เช่นกันแต่ต้องเผื่อจำนวนวัตต์ให้มากกว่าเดิมและไม่เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์ที่เปิดใช้งานระยะเวลานานๆ
การอ่านค่าของ Power Supply
ที่ด้านข้างของ Power Supply
นั้นจะมีฉลากไว้ระบุค่ากำลังไฟฟ้า สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดเท่าไหร่
การที่เราเข้าใจฉลากข้อมูลนั้นก็จะเลือก Power Supply
ให้เหมาะสมกับการใช้งานได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานได้ถูกต้องมากขึ้น
ยกตัวอย่างจากฉากดังนี้
จากรูปจะพบว่า Power Supply
ตัวนี้มีกำลังจ่ายไฟฟ้า 350 วัตต์
อาจจะมีการำลังไฟฟ้าที่ระบุว่าสามารถทนได้มากกว่านี้เท่าไหร่ไว้ด้วย AC
Input คือกำลังไฟฟ้าเข้า รองรับได้ทั้ง 115 และ 230 โวลต์ และความถี่
50 – 60 Hz ขนาด 0.8 และ 5 A
DC Output
เป็นการจ่ายกระแสไฟฟ้าตรงด้านตารางบนสุด มีหน่วย V
คือกำลังไฟฟ้าที่สามารถจ่ายได้ และ แถว A
เป็นกำลังไฟฟ้าที่จ่ายไฟฟ้าได้สูงสุดเช่นกันมีค่าเป็นแอมป์แต่ทั้งหมดต้องจ่ายทั้งหมดไม่เกิน
350 วัตต์ นี้เป็นตัวอย่าในการระบุค่าของ Power Supply
แต่ของยี่ห้ออื่นจะระบุไว้ตามที่กำหนดได้อีกหลายแบบ
อะไรคือ 80 PLUS มีความสำคัญอย่างไร
80 PLUS เป็นมาตรฐานที่ใช้กับ Power Supply
ที่มีความประหยัดพลังงานมากกว่ารุ่นทั่วไป
เหมาะสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ทำงานตลอดทั้งวันหรือใช้งานระยะเวลานาน Power
Supply ที่มี 80 PLUS จะมีราคาแพงกว่า
แต่ว่าหากเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้บางเวลาไม่นานอาจจะไม่คุ้ม
โดยจะมีสัญลักษณ์ระบุไว้
อะไรคือ 80+ ?
คำว่า 80+ (80 Plus)
นั้นเป็นการใช้เรียกประสิทธิภาพในการทำงาน (efficiency)
ซึ่งที่จริงแล้วก็ไม่ได้มีเพียงแค่ในเรื่องของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์หรืออิเลกทรอนิกส์เท่านั้น
ในทางวิศวกรรมแล้วมันมีมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเครื่องจักร
เครื่องยนต์
เพียงแต่ในวงการคอมพิวเตอร์นั้นเพิ่งจะมีการรณรงค์เรื่องนี้เท่านั้น
สำหรับ
Power efficiency ในที่นี้สำหรับ PSU (Power Supply Unit)
นั้นก่อนที่จะเจาะจงลงไป เราต้องรู้ก่อนว่า PSU
มีหน้าที่ทำอะไรในคอมพิวเตอร์ ซึ่งมันก็คือ ” อุปกรณ์แปลงไฟฟ้าจากกระแสสลับ
(AC) ให้เป็นกระแสตรง (DC)
เมื่อทราบแล้วว่ามันคือตัวแปลงไฟหรือพูดแบบบ้านๆก็หม้อแปลงดีๆตัวหนึ่งนี่แหละ
และในขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงนี้เอง
ที่มันจะต้องมีการสูญเสียจึงเป็นที่มาของเรื่องประสิทธิภาพหรือ efficiency
ถ้ายังนึกภาพไม่ออก
ผมมีภาพง่ายๆมาให้ดูกันซึ่งคิดว่าน่าจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น
เห็นภาพแล้วคงนึกออกแล้วใช่ไหมครับว่ามันทำหน้าที่อะไร
ถัดมาก็มาว่ากันต่อเลยกับเรื่องของ efficiency ที่เป็นที่มาของ 80+ ซึ่งความหมายของคำว่า 80+ นั้นก็คือ ….
”
ประสิทธิภาพการทำงานของ
PSU (การแปลงไฟจาก AC สู่ DC) ระหว่าง
พลังงานขาเข้าและขาออกที่ให้ประสิทธิภาพได้เกินกว่า 80%
หรือมีการสูญเสียไม่เกิน 20% ” ซึ่งในทางวิศวกรรมนั้น
” ประสิทธิภาพใดๆก็ตามจะต้องไม่เกิน 1 หรือ 100% “ ของผลต่างระหว่างด้าน Input (ขาเข้า) และ Output (ขาออก) โดยจะมีสัดส่วนหรือสมการดังนี้
efficiency = Output/Input (ขาออกหารด้วยขาเข้า)
ทั้งนี้ก็ยังมีคนอีกจำนวนหนึ่งที่ยังเข้าใจผิดๆว่า
80+ คือความสามารถในการจ่ายไฟได้แค่ 80% ของกำลัง Watt ที่ผู้ผลิตระบุมา
ซึ่ง ” ผิดมหันต์ ” แต่ถ้ายังไม่เข้าใจ
เดี๋ยวผมจะอธิบายตัวอย่างง่ายๆเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น
สำหรับภาพตัวอย่างด้านบนนี้ คือตัวอย่างของ PSU ที่ไม่ผ่านมาตรฐาน 80+
หรือมีประสิทธิภาพไม่ถึง 80%
เพราะเมื่อเราดูกันที่พลังงานของโหลดที่ต้องใช้ 100W (DC)
แต่พลังงานขาเข้าที่จ่ายให้กับตัว PSU แปลงจาก AC เป็น DC
นั้นต้องจ่ายเข้ามากถึง 143W
และถ้าลองนำค่าตรงนี้ไปใส่ในสมการที่ผมยกมาก็จะได้ว่า
efficiency = 100/143 = 0.69 หรือหากคิดเป็นเปอร์เซนต์ก็คูณ 100 เข้าไปจะเท่ากับ 69%
ลองพิจรณาตามสักนิดนะครับ
จากตัวอย่างสงสัยกันไหมครับว่า ไฟที่เข้าไปตั้ง 143W แล้วทำไมออกมาได้แค่
100W ? ซึ่งในทางเทคนิคอย่างที่บอก ไม่มีอะไรทำงานได้เต็ม 100%
ซึ่งมันต้องมีการสูญเสียไปในกระบวนการทำงาน
ถ้าเป็นเครื่องยนต์ก็จะมีการสูญเสียหลายอย่าง
เช่นจากแรงเสียดทานเพราะมีชิ้นส่วนเคลื่อนไหว
จากความร้อนเพราะมีการเสียดสีจากการเคลื่อนไหว
แต่สำหรับในทางอิเลกทรอนิกส์นั้นก้จะสูญเสียไปกับความร้อนเป็นประเด็นหลัก
ซึ่งมันก็จะมาจากเหตุผลหลายๆอย่างเช่น
การออกแบบวงจรการทำงานที่อาจจะมีขั้นตอนหลายขั้นตอน,
การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์คุณภาพต่ำ
ก็เลยทำให้ในขั้นตอนของการเปลี่ยนแรงดันจาก AC มาเป็น DC สูญหายไปส่วนหนึ่ง
จากตัวอย่างก็สูญเสียให้กับความร้อนไป 43W
จึงทำให้ด้านขาเข้าจะต้องจ่ายไฟมากกว่าด้านขาออกเสมอ
แต่ถ้าหากว่ามันมีประสิทธิภาพที่ดี เราก็จะสามารถเห็นว่าค่าด้าน Input
จะมีความใกล้เคียงกับค่าด้าน Output มากที่สุด
ตัวอย่างต่อมาคือ PSU ที่มีประสิทธิภาพในระดับ 80% หรือผ่านมาตรฐาน 80+
ในปัจจุบันนี้ เมื่อเปรียบเทียบจากโหลดหรือภาระที่มีความต้องการใช้พลังงาน
100W (DC) เท่ากัน แต่ค่าพลังงานด้านขาเข้าที่จะต้องจ่ายให้กับ PSU
นั้นมีความต้องการเพียง 125W (AC) เท่านั้น
และถ้านำไปวางในสมการเดิมเราก็จะได้ว่า
efficiency = 100/125= 0.8 หรือหากคิดเป็นเปอร์เซนต์ก็คูณ 100 เข้าไปจะเท่ากับ 80%
ซึ่งในตัวอย่างนี้จะเห็นว่าเรามีพลังงานที่สูญเสียไปกับความร้อนเพียง
25W ซึ่งน้อยกว่าตัวอย่างด้านบนที่สูญเสียไปมากถึง 43W
และนี่เองคือประสิทธิภาพในการทำงาน
ถึงตรงนี้คงจะเริ่มเข้าใจแล้วใช่ไหมครับว่า 80+ คืออะไร
มีที่มาที่ไปอย่างไร
มาตฐาน 80+ มีกี่ระดับอะไรบ้าง และมีการแบ่งระดับของประสิทธิภาพอย่างไร ?
สำหรับ ณ เวลานี้การแบ่งมาตรฐาน 80+ จากทาง Plugloadsolutions (http://www.plugloadsolutions.com) หรือ 80PLUS.ORG เดิมนั้นจะมีทั้งหมด 6 ระดับด้วยกันคือ
80 Plus (ธรรมดา) ก็คือ PSU
ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่โหลดตลอดทั้งสามช่วงคือ 20%, 50%, 100% Load
ได้ 0.8 (80% efficiency) พอดี และจะทดสอบกับ PSU ที่ใช้ไฟ AC ในช่วง 110V
เท่านั้น
80 Plus Broze (ชั้นทองแดง) ก็คือ PSU
ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่โหลดในช่วง 20% จากความสามารถทั้งหมดของ PSU
ได้ในระดับเกินกว่า 0.81 และที่ภาระ 50% มีประสิทธิภาพเกินกว่า 0.85
และที่โหลดเต็ม 100% จะต้องมีประสิทธิภาพเกินกว่า 0.81 สำหรับ PSU
ที่ใช้ไฟด้าน AC 220V จึงจะได้การการันตีมาในระดับนี้
80 Plus Silver (ชั้นเงิน) ก็คือ PSU
ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่โหลดในช่วง 20% จากความสามารถทั้งหมดของ PSU
ได้ในระดับเกินกว่า 0.85 และที่ภาระ 50% มีประสิทธิภาพเกินกว่า 0.89
และที่โหลดเต็ม 100% จะต้องมีประสิทธิภาพเกินกว่า 0.85 สำหรับ PSU
ที่ใช้ไฟด้าน AC 220V จึงจะได้การการันตีมาในระดับนี้
80 Plus Gold (ชั้นทอง) ก็คือ PSU ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่โหลดในช่วง
20% จากความสามารถทั้งหมดของ PSU ได้ในระดับเกินกว่า 0.88 และที่ภาระ 50%
มีประสิทธิภาพเกินกว่า 0.92 และที่โหลดเต็ม 100%
จะต้องมีประสิทธิภาพเกินกว่า 0.88 สำหรับ PSU ที่ใช้ไฟด้าน AC 220V
จึงจะได้การการันตีมาในระดับนี้
80 Plus Platinum (ชั้นแพลททินัม) ก็คือ PSU
ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่โหลดในช่วง 20% จากความสามารถทั้งหมดของ PSU
ได้ในระดับเกินกว่า 0.9 และที่ภาระ 50% มีประสิทธิภาพเกินกว่า 0.94
และที่โหลดเต็ม 100% จะต้องมีประสิทธิภาพเกินกว่า 0.91 สำหรับ PSU
ที่ใช้ไฟด้าน AC 220V จึงจะได้การการันตีมาในระดับนี้
80 Plus Titanium (ชั้นไทเทเนี่ยม) ก็คือ PSU
ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่โหลดในช่วง 20% จากความสามารถทั้งหมดของ PSU
ได้ในระดับเกินกว่า 0.94 และที่ภาระ 50% มีประสิทธิภาพเกินกว่า 0.96
และที่โหลดเต็ม 100% จะต้องมีประสิทธิภาพเกินกว่า 0.91
ซึ่งในระดับสูงสุดนี้จะยังมีการวัดการจ่ายพลังงานที่ภาระช่วงต่ำๆเพียง 10%
ด้วยซึ่งจะต้องมีประสิทธิภาพได้เกินกว่า 0.9
ซึ่งถือว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลยสำหรับการทำงานในช่วงนี้ สำหรับ PSU
ที่ใช้ไฟด้าน AC 220V จึงจะได้การการันตีมาในระดับนี้
ที่ได้กล่าวไปทั้งหมดตรงนี้ก็คือขั้นตอนหรือรูปแบบในการตรวจวัด PSU จากทาง
Plugloadsolutions และแบ่งมาตรฐานของ 80+
ออกเป็นระดับชั้นต่างๆตามความสามารถของตัว PSU นั้นๆที่ส่งเข้าทำการทดสอบ
และได้มาซึ่งใบประกาศณียบัตรรับรองจากทาง Plugloadsolutions
หรือสามารถนำโลโก 80+ แปะลงบนกล่องของ PSU
ของตนเองเพื่อเป็นการโปโมทหรือจูงใจในการซื้อ
แต่ทั้งนี้จริงๆแล้วมันยังมีรายละเอียดลึกๆของเรื่อง Power Factor (PFC)
เข้ามาเกี่ยวข้อด้วย แต่ในเรื่องของ PFC นั้นไม่ค่อยได้พูดถึงมากนัก
เพราะจะเป็นเรื่องที่ดูไกลตัว
เนื่องจากมันจะมีผลต่อเรื่องของการประหยัดพลังงานโลก พลังงานชาติ
ไม่ได้ช่วยในเรื่องประหยัดค่าไฟหรือประหยัดกระเป๋าของผุ้ใช้งานแต่อย่างใด
ยกเว้นประเทศที่มีการคิดค่าไฟจากอัตราค่า PFC ด้วย
เขาจึงจะให้ความสำคัญในจุดนี้เป็นพิเศษ
วิธีวัด กำลัง วัตต์ ของ Power supply
power supply ที่ใช้ขายแบ่งเป็น 2 ชนิดครับ คือ watt แท้กับ watt เทียมครับ
1
watt แท้ คือ เป็น power supply
ที่เค้าใช้สายไฟพันขดลวดเพื่อเหนี่ยวนำไฟฟ้า แล้วจะได้จำนวน watt
ที่เค้าบอกมาครับ อันนี้ข้อดีคือ watt ที่ได้ ตามที่เค้าบอกครับ
ไม่มีการแกว่งของกระแสไฟแน่นอนครับ
2 watt เทียม คือ เค้าจะใช้วงจร
electronic มาปรับเพิ่มกระแสและ กำลังไฟ(watt) ให้ได้ตามที่เค้าบอกไว้
ข้อดีคือ ถูกครับ ข้อเสีย สังเกตุได้ใน bios แรงดัน ไฟจะไม่ค่อยคงที่ครับ
เปลี่ยนไปตลอดเวลา เดี๋ยวขึ้นเดียวลงครับ
(แล้วผมจะเล่าทำไมให้ยาว แฮะๆๆๆ)
สรุปก็คือถ้าวัดจริงๆ ต้องต่อ load ที่กินไฟตามที่บอก แล้วใช้ Amp meter และ volt
meter มาจับดูแล้วคำนวณ ตามสูตรข้างบนครับ P=VI ครับ