ใบงานที่ 3
พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ หรือ พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบบคอมพิวเตอร์
ซัพพลายของคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะการทำงาน คือทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก
220 โวลต์ เป็น 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์
ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย
ในคอมพิวเตอร์จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามเคส คือแบบ AT และแบบ ATX
ประเภทของพาวเวอร์ซัพพลาย
ประเภทของ Power Supply แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ- AT เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้กันในประมาณ พ.ศ. 2539 โดยปุ่มเปิด - ปิด การทำงานเป็นการต่อตรงกับแหล่งจ่ายไฟ ทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์บางตัว เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือซีพียู ที่ต้องอาศัยไฟในชั่วขณะหนึ่ง ก่อนที่จะเปิดเครื่อง (วิธีดูง่ายๆ จะมีสวิตซ์ปิดเปิด จากพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย)
- ATX เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยมีการพัฒนาจาก AT โดยเปลี่ยนปุ่มปิด - เปิด ต่อตรงกับส่วนเมนบอร์ดก่อน เพื่อให้ยังคงมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนที่จะปิดเครื่อง ทำให้ลดอัตราเสียของอุปกรณ์ลง โดยมีรุ่นต่างๆ ดังนี้
- ATX 2.01 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปที่ใช้ตัวถังแบบ ATX สามารถใช้ได้กับเมนบอร์ดแบบ ATX และ Micro ATX
- ATX 2.03 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์แบบ Server หรือ Workstation ที่ใช้ตัวถังแบบ ATX (สังเกตว่าจะมีสายไฟเพิ่มอีกหนึ่งเส้น ที่เรียกว่า AUX connector)
- ATX 2.01 แบบ PS/3 ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวถังแบบ Micro ATX และเมนบอร์ดแบบ Micro ATX เท่านั้น
ส่วนต่างๆ ของพาวเวอร์ซัพพลาย
- ไฟกระแสสลับขาเข้า (AC Input) พลังงานไฟฟ้าในส่วนนี้ จะมาจากปลั๊กไฟ โดยที่รู้แล้วว่าไฟที่ใช้กันอยู่จะเป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่มีขนาดแรงดัน 220v ความถี่ 50 Hz เมื่อเสียบปลั๊กไฟกระแสไฟฟ้าก็จะวิ่งตามตัวนำเข้ามายังเครื่องใช้ไฟฟ้า
- ฟิวส์ (Fuse) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการป้องกันวงจรพาวเวอร์ซัพพลายทั้งหมดให้รอดพ้นอันตราย จากกระแสไฟแรงสูงที่เกิดขึ้นจากการถูกฟ้าผ่า หรือกระแสไฟฟ้าแรงสูงในรูปแบบต่างๆ โดยหากเกิดกระแสไฟฟ้าแรงสูงเกินกว่าที่ฟิวส์จะทนได้ ฟิวส์ตัวนี้ก็จะตัดในทันทีทันใด
- วงจรกรองแรงดัน วงจรกรองแรงดันนี้จะทำหน้าที่กรองแรงดันไฟไม่ว่าจะเป็นแบบกระแสสลับ หรือกระแสตรงก็ตาม ที่เข้ามาให้มีความบริสุทธิ์จริงๆ เพื่อป้องกันแรงดันไฟฟ้าที่ผิดปกติเช่นไฟกระชาก ซึ่งจะเป็นผลให้วงจรต่างๆ ในพาวเวอร์ซัพพลายเกิดความเสียหายขึ้นได้
- ภาคเรคติไฟเออร์ (Rectifier) หลังจากที่ไฟกระแสสลับ 220v
ได้วิ่งผ่านฟิวส์
และวงจรกรองแรงดันเรียบร้อยแล้วก็จะตรงมายังภาคเรคติไฟเออร์
โดยหน้าที่ของเจ้าเรคติไฟเออร์ ก็คือ การแปลงไฟกระแสสลับ
ให้มาเป็นไฟกระแสตรง ซึ่งก็ประกอบไปด้วย
- ตัวเก็บประจุ (Capacitor) จะทำหน้าที่ทำปรับให้แรงดันไฟกระแสตรงที่ออกมาจากบริดเรคติไฟเออร์ ให้เป็นไฟกระแสตรงที่เรียบจริงๆ
- ไดโอดบริดจ์เรคติไฟเออร์ (Bridge Rectifier) ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของตัว IC หรือแบบที่นำไดโอด 4 ตัวมาต่อกันให้เป็นวจรบริดจ์เรคติไฟเออร์
- วงจรสวิตชิ่ง (Switching) เป็นวงจรที่ใช้ในการทำงานร่วมกับวงจรควบคุม (Contrlo Circuit) เพื่อตรวจสอบว่าควรจะจ่ายแรงดันทั้งหมดให้กับระบบหรือไม่ โดยถ้าวงจรควบคุมส่งสัญญาณมาให้กับวงจรสวิตซิ่งว่าให้ทำงาน ก็จะเริ่มจ่ายแรงดันไฟฟ้าที่ได้จากภาคเรคติไฟเออร์ไปให้กับหม้อแปลงต่อไป
- หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) หม้อแปลงที่ใช้ในวงจรสวิตชิ่งซัพพลายจะเป็นหม้อแปลงที่มีหน้าที่ในการแปลงไฟที่ได้จากภาคสวิตชิ่ง ซึ่งก็รับแรงดันไฟมาจากภาคเรติไฟเออร์อีกต่อหนึ่ง โดยแรงดันไฟฟ้ากระแสงตรงที่มีค่าแรงดันสูงขนาดประมาณ 300 v ดังนั้นหม้อแปลงตัวนี้ก็จะทำหน้าที่ในการแปลงแรงดันไฟกระแสตรงสูงนี้ให้มีระดับแรงดันที่ลดต่ำลงมา เพื่อที่จะสามารถใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ก่อนที่จะส่งไปให้วงจรควบคุมแรงดันต่อไป
- วงจรควบคุมแรงดัน (Voltage Control) เป็นวงจรที่จะกำหนดค่าของแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้รับมาจากหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อที่จะให้ได้ระดับแรงดันที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ต่างๆ โดยค่าของระดับแรงดันไฟฟ้านี้ก็จะมีขนาด 5v และ 12v สำหรับพาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้กับเมนบอร์ดแบบ AT แต่ถ้าเป็นพาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้กับเมนบอร์ดที่เป็นแบบ ATX ก็จะต้องมีวงจรควบคุมแรงดันให้ออกมามีขนาด 3.3v เพิ่มอีกหนึ่ง (ซึ่งซีพียูรุ่นเก่าที่ใช้แรงดันไฟขนาด 3.3 v นี้ก็สามารถที่จะดึงแรงดันไฟในส่วนนี้ไปเลี้ยงซีพียูได้เลย)
- วงจรควบคุม เป็นวงจรที่ใช้ในการควบคุมวงจรสวิตชิ่ง ว่าจะให้ทำการจ่ายแรงดันไปให้กับหม้อแปลงหรือไม่ และแน่นอนว่าในส่วนนี้จะทำงานร่วมกับวงจรลอจิกที่อยู่บนเมนบอร์ด เมื่อวงจรลอจิกส่งสัญญาณกลับมาให้แก่วงจรควบคุม วงจรควบคุมก็จะสั่งการให้วงจรสวิตชิ่งทำงาน
หลักการทำงานของพาวเวอร์ซัพพลาย
พาวเวอร์ซัพพลาย ทั้งแบบ AT และ ATX นั้นมีลักษณะการทำงานที่เหมือนกัน คือรับแรงดันไฟจาก 220-240 โวลต์ โดยผ่านการควบคุมด้วยสวิตช์ สำหรับ AT และเมนบอร์ด แล้วส่งแรงดันไฟส่วนหนึ่งกลับไปที่ช่อง AC output เพื่อเลี้ยงตัวมอนิเตอร์ และจะส่งแรงดันไฟ 220 โวลต์ อีกส่วนหนึ่งเข้าสู่หน่วยการทำงานที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟสลับ 220 โวลต์ ให้เป็นไฟกระแสตรง 300 โวลต์ โดยไม่ผ่านหม้อแปลงไฟ ระบบนี้เรียกว่า (Switching power supply ) และผ่านหม้อแปลงที่ทำหน้าที่แปลงไฟตรงสูงให้เป็นไฟตรงต่ำ โดยจะฝ่านชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กำหนดแรงดันไฟฟ้าอีกชุดหนึ่งแบ่งให้เป็น 5 และ 12 ก่อนที่จะส่งไปยังสายไฟและตัวจ่ายต่างๆ โดยความสามารถพิเศษของ Switching power supply ก็คือ มีชุด Switching ที่จะทำการตัดไฟเลี้ยงออกทันทีเมื่อมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟตัวใดตัว หนึ่งชำรุดเสียหาย หรือช็อตนั่นเองเมื่อเรารู้ข้อมูลอย่างคร่าว ๆ ของ power supply กันไปแล้ว ต่อมาเราก็จะทำความรู้จัก กับสาย power supply จะมีสาย connector ต่าง ๆ ซึ่งแต่ล่ะสายก็จะทำหน้าที่จ่ายไฟไปในอุปกรณ์ที่ต่างกัน ดังภาพ
การเลือกซื้อ power supply
อุปกรณ์ที่มีความสำหรับของคอมพิวเตอร์ที่ขาดไม่ได้เลยคือ Power Supply เพราะเป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับคอมพิวเตอร์ภายในเคสและภายนอกด้วย ดังนั้นการเลือก Power Supply จึงมีความสำคัญ ซึ่งตามท้องตลาดมีหลายราคาและมีระดับกำลังไฟฟ้าที่แตกต่างกัน ก็เลยมีปัญหาว่าจะซื้อราคาไหน กำลังไฟเท่าไหร่จึงจะเพียงพอในการใช้งาน ซึ่งมีหน่วยเป็นวัตต์ หากเราเลือกเกินก็จะทำให้สิ้นเปลืองไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น และมีราคาสูงด้วย แต่ถ้าใช้วัตต์ที่น้อยก็จะไม่มีกระแสไฟฟ้าที่เพียงพอในการทำงานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ก็จะเกิดความเสียหายในระยะยาว ซึ้งผู้ผลิตได้จำหน่ายไว้หลากหลายรุ่น
การคำนวณวัตต์ของอุปกรณ์ทั้งหมด
การที่เราจะคำนวณวัตต์ได้นั้นไม่สามารถที่จะให้แม่นยำได้ว่าอุปกรณ์ที่เราใช้งานอยู่ใช้กำลังไฟเท่าไหร่ ซึ่งมีการคำคะเนไว้เท่านั้น เพราะในแต่ละอุปกรณ์ที่เราใช้นั้นใช้ไฟไม่เท่ากัน ยิ่งคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมีความจำเป็นที่จะใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ขึ้นอยู่กับการทำงานของคอมพิวเตอร์ด้วย หากคอมพิวเตอร์ทำงานหนักก็ใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเช่นกัน ส่วนมากมักจะใช้ไฟอยู่ที่ 450 – 550 วัตต์ อย่างเช่น เครื่องที่ใช้ Intel Core i3 กินไฟน้อยกว่า Intel Core i7 และหากเครื่องคอมพิวเตอร์มีจำนวนอุปกรณ์ที่มากก็มีความต้องการไฟที่มากเช่นกัน บางเครื่องหากมีอุปกรณ์มากและมีประสิทธิภาพสูงอาจจะต้องใช้ 800 วัตต์เลยก็ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยี่ห้อของ Power Supply ก็มีความสำคัญ
ยี่ห้อ Power Supply มีความสำคัญอย่างไร
จะเห็นได้ว่ายี่ห้อของ Power Supply นั้นมีหลายยีห้อ และมีหลายราคาตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทไปจึงถึงหลายพันก็มี จึงมีคำถามว่าราคาแพงแต่มีจำนวนวัตต์ที่เท่ากันนั้นดีหรือไม่แล้วของถูกใช้งานได้หรือไม่สามารถใช้งานได้ทั้งสองอย่างแต่มีข้อแตกต่างกัน มาตรฐานในการจ่ายกระแสไฟฟ้านั้นเองการที่จะจ่ายกระแสไฟฟ้านั้นจะต้องเต็มจำนวนวัตต์และมีความนิ่งในการจ่ายไฟไม่เช่นนั้นจะทำให้อุปกรณ์นั้นเสียหาย สำหรับ Power Supply ที่มียี่ห้อนั้นจะถูกออกแบบตามลักษณะของตัวเองมีแผงวงจรที่สามารถควบคุมกระแสไฟฟ้าให้จ่ายไฟนิ่ง และจ่ายไฟฟ้าได้เต็มจำนวนวัตต์ที่ได้ระบุไว้ฉลาก หากเป็นราคาถูกก็สามารถใช้งานได้เช่นกันแต่ต้องเผื่อจำนวนวัตต์ให้มากกว่าเดิมและไม่เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์ที่เปิดใช้งานระยะเวลานานๆ
การอ่านค่าของ Power Supply
ที่ด้านข้างของ Power Supply
นั้นจะมีฉลากไว้ระบุค่ากำลังไฟฟ้า สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดเท่าไหร่
การที่เราเข้าใจฉลากข้อมูลนั้นก็จะเลือก Power Supply
ให้เหมาะสมกับการใช้งานได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานได้ถูกต้องมากขึ้น
ยกตัวอย่างจากฉากดังนี้
จากรูปจะพบว่า Power Supply
ตัวนี้มีกำลังจ่ายไฟฟ้า 350 วัตต์
อาจจะมีการำลังไฟฟ้าที่ระบุว่าสามารถทนได้มากกว่านี้เท่าไหร่ไว้ด้วย AC
Input คือกำลังไฟฟ้าเข้า รองรับได้ทั้ง 115 และ 230 โวลต์ และความถี่
50 – 60 Hz ขนาด 0.8 และ 5 A
DC Output
เป็นการจ่ายกระแสไฟฟ้าตรงด้านตารางบนสุด มีหน่วย V
คือกำลังไฟฟ้าที่สามารถจ่ายได้ และ แถว A
เป็นกำลังไฟฟ้าที่จ่ายไฟฟ้าได้สูงสุดเช่นกันมีค่าเป็นแอมป์แต่ทั้งหมดต้องจ่ายทั้งหมดไม่เกิน
350 วัตต์ นี้เป็นตัวอย่าในการระบุค่าของ Power Supply
แต่ของยี่ห้ออื่นจะระบุไว้ตามที่กำหนดได้อีกหลายแบบ
อะไรคือ 80 PLUS มีความสำคัญอย่างไร
80 PLUS เป็นมาตรฐานที่ใช้กับ Power Supply
ที่มีความประหยัดพลังงานมากกว่ารุ่นทั่วไป
เหมาะสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ทำงานตลอดทั้งวันหรือใช้งานระยะเวลานาน Power
Supply ที่มี 80 PLUS จะมีราคาแพงกว่า
แต่ว่าหากเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้บางเวลาไม่นานอาจจะไม่คุ้ม
โดยจะมีสัญลักษณ์ระบุไว้
อะไรคือ 80+ ?คำว่า 80+ (80 Plus) นั้นเป็นการใช้เรียกประสิทธิภาพในการทำงาน (efficiency) ซึ่งที่จริงแล้วก็ไม่ได้มีเพียงแค่ในเรื่องของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์หรืออิเลกทรอนิกส์เท่านั้น ในทางวิศวกรรมแล้วมันมีมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเครื่องจักร เครื่องยนต์ เพียงแต่ในวงการคอมพิวเตอร์นั้นเพิ่งจะมีการรณรงค์เรื่องนี้เท่านั้น
สำหรับ Power efficiency ในที่นี้สำหรับ PSU (Power Supply Unit) นั้นก่อนที่จะเจาะจงลงไป เราต้องรู้ก่อนว่า PSU มีหน้าที่ทำอะไรในคอมพิวเตอร์ ซึ่งมันก็คือ ” อุปกรณ์แปลงไฟฟ้าจากกระแสสลับ (AC) ให้เป็นกระแสตรง (DC) เมื่อทราบแล้วว่ามันคือตัวแปลงไฟหรือพูดแบบบ้านๆก็หม้อแปลงดีๆตัวหนึ่งนี่แหละ และในขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงนี้เอง ที่มันจะต้องมีการสูญเสียจึงเป็นที่มาของเรื่องประสิทธิภาพหรือ efficiency ถ้ายังนึกภาพไม่ออก ผมมีภาพง่ายๆมาให้ดูกันซึ่งคิดว่าน่าจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น
เห็นภาพแล้วคงนึกออกแล้วใช่ไหมครับว่ามันทำหน้าที่อะไร
” ประสิทธิภาพการทำงานของ PSU (การแปลงไฟจาก AC สู่ DC) ระหว่าง พลังงานขาเข้าและขาออกที่ให้ประสิทธิภาพได้เกินกว่า 80% หรือมีการสูญเสียไม่เกิน 20% ” ซึ่งในทางวิศวกรรมนั้น ” ประสิทธิภาพใดๆก็ตามจะต้องไม่เกิน 1 หรือ 100% “ ของผลต่างระหว่างด้าน Input (ขาเข้า) และ Output (ขาออก) โดยจะมีสัดส่วนหรือสมการดังนี้
efficiency = Output/Input (ขาออกหารด้วยขาเข้า)
ทั้งนี้ก็ยังมีคนอีกจำนวนหนึ่งที่ยังเข้าใจผิดๆว่า
80+ คือความสามารถในการจ่ายไฟได้แค่ 80% ของกำลัง Watt ที่ผู้ผลิตระบุมา
ซึ่ง ” ผิดมหันต์ ” แต่ถ้ายังไม่เข้าใจ
เดี๋ยวผมจะอธิบายตัวอย่างง่ายๆเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้นสำหรับภาพตัวอย่างด้านบนนี้ คือตัวอย่างของ PSU ที่ไม่ผ่านมาตรฐาน 80+ หรือมีประสิทธิภาพไม่ถึง 80% เพราะเมื่อเราดูกันที่พลังงานของโหลดที่ต้องใช้ 100W (DC) แต่พลังงานขาเข้าที่จ่ายให้กับตัว PSU แปลงจาก AC เป็น DC นั้นต้องจ่ายเข้ามากถึง 143W และถ้าลองนำค่าตรงนี้ไปใส่ในสมการที่ผมยกมาก็จะได้ว่า
efficiency = 100/143 = 0.69 หรือหากคิดเป็นเปอร์เซนต์ก็คูณ 100 เข้าไปจะเท่ากับ 69%
ลองพิจรณาตามสักนิดนะครับ จากตัวอย่างสงสัยกันไหมครับว่า ไฟที่เข้าไปตั้ง 143W แล้วทำไมออกมาได้แค่ 100W ? ซึ่งในทางเทคนิคอย่างที่บอก ไม่มีอะไรทำงานได้เต็ม 100% ซึ่งมันต้องมีการสูญเสียไปในกระบวนการทำงาน ถ้าเป็นเครื่องยนต์ก็จะมีการสูญเสียหลายอย่าง เช่นจากแรงเสียดทานเพราะมีชิ้นส่วนเคลื่อนไหว จากความร้อนเพราะมีการเสียดสีจากการเคลื่อนไหว แต่สำหรับในทางอิเลกทรอนิกส์นั้นก้จะสูญเสียไปกับความร้อนเป็นประเด็นหลัก ซึ่งมันก็จะมาจากเหตุผลหลายๆอย่างเช่น การออกแบบวงจรการทำงานที่อาจจะมีขั้นตอนหลายขั้นตอน, การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์คุณภาพต่ำ ก็เลยทำให้ในขั้นตอนของการเปลี่ยนแรงดันจาก AC มาเป็น DC สูญหายไปส่วนหนึ่ง จากตัวอย่างก็สูญเสียให้กับความร้อนไป 43W จึงทำให้ด้านขาเข้าจะต้องจ่ายไฟมากกว่าด้านขาออกเสมอ แต่ถ้าหากว่ามันมีประสิทธิภาพที่ดี เราก็จะสามารถเห็นว่าค่าด้าน Input จะมีความใกล้เคียงกับค่าด้าน Output มากที่สุดตัวอย่างต่อมาคือ PSU ที่มีประสิทธิภาพในระดับ 80% หรือผ่านมาตรฐาน 80+ ในปัจจุบันนี้ เมื่อเปรียบเทียบจากโหลดหรือภาระที่มีความต้องการใช้พลังงาน 100W (DC) เท่ากัน แต่ค่าพลังงานด้านขาเข้าที่จะต้องจ่ายให้กับ PSU นั้นมีความต้องการเพียง 125W (AC) เท่านั้น และถ้านำไปวางในสมการเดิมเราก็จะได้ว่า
efficiency = 100/125= 0.8 หรือหากคิดเป็นเปอร์เซนต์ก็คูณ 100 เข้าไปจะเท่ากับ 80%
ซึ่งในตัวอย่างนี้จะเห็นว่าเรามีพลังงานที่สูญเสียไปกับความร้อนเพียง 25W ซึ่งน้อยกว่าตัวอย่างด้านบนที่สูญเสียไปมากถึง 43W และนี่เองคือประสิทธิภาพในการทำงาน ถึงตรงนี้คงจะเริ่มเข้าใจแล้วใช่ไหมครับว่า 80+ คืออะไร มีที่มาที่ไปอย่างไรมาตฐาน 80+ มีกี่ระดับอะไรบ้าง และมีการแบ่งระดับของประสิทธิภาพอย่างไร ?
สำหรับ ณ เวลานี้การแบ่งมาตรฐาน 80+ จากทาง Plugloadsolutions (http://www.plugloadsolutions.com) หรือ 80PLUS.ORG เดิมนั้นจะมีทั้งหมด 6 ระดับด้วยกันคือ
80 Plus (ธรรมดา) ก็คือ PSU
ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่โหลดตลอดทั้งสามช่วงคือ 20%, 50%, 100% Load
ได้ 0.8 (80% efficiency) พอดี และจะทดสอบกับ PSU ที่ใช้ไฟ AC ในช่วง 110V
เท่านั้น
80 Plus Broze (ชั้นทองแดง) ก็คือ PSU
ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่โหลดในช่วง 20% จากความสามารถทั้งหมดของ PSU
ได้ในระดับเกินกว่า 0.81 และที่ภาระ 50% มีประสิทธิภาพเกินกว่า 0.85
และที่โหลดเต็ม 100% จะต้องมีประสิทธิภาพเกินกว่า 0.81 สำหรับ PSU
ที่ใช้ไฟด้าน AC 220V จึงจะได้การการันตีมาในระดับนี้
80 Plus Silver (ชั้นเงิน) ก็คือ PSU
ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่โหลดในช่วง 20% จากความสามารถทั้งหมดของ PSU
ได้ในระดับเกินกว่า 0.85 และที่ภาระ 50% มีประสิทธิภาพเกินกว่า 0.89
และที่โหลดเต็ม 100% จะต้องมีประสิทธิภาพเกินกว่า 0.85 สำหรับ PSU
ที่ใช้ไฟด้าน AC 220V จึงจะได้การการันตีมาในระดับนี้
80 Plus Gold (ชั้นทอง) ก็คือ PSU ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่โหลดในช่วง
20% จากความสามารถทั้งหมดของ PSU ได้ในระดับเกินกว่า 0.88 และที่ภาระ 50%
มีประสิทธิภาพเกินกว่า 0.92 และที่โหลดเต็ม 100%
จะต้องมีประสิทธิภาพเกินกว่า 0.88 สำหรับ PSU ที่ใช้ไฟด้าน AC 220V
จึงจะได้การการันตีมาในระดับนี้
80 Plus Platinum (ชั้นแพลททินัม) ก็คือ PSU
ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่โหลดในช่วง 20% จากความสามารถทั้งหมดของ PSU
ได้ในระดับเกินกว่า 0.9 และที่ภาระ 50% มีประสิทธิภาพเกินกว่า 0.94
และที่โหลดเต็ม 100% จะต้องมีประสิทธิภาพเกินกว่า 0.91 สำหรับ PSU
ที่ใช้ไฟด้าน AC 220V จึงจะได้การการันตีมาในระดับนี้
80 Plus Titanium (ชั้นไทเทเนี่ยม) ก็คือ PSU
ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่โหลดในช่วง 20% จากความสามารถทั้งหมดของ PSU
ได้ในระดับเกินกว่า 0.94 และที่ภาระ 50% มีประสิทธิภาพเกินกว่า 0.96
และที่โหลดเต็ม 100% จะต้องมีประสิทธิภาพเกินกว่า 0.91
ซึ่งในระดับสูงสุดนี้จะยังมีการวัดการจ่ายพลังงานที่ภาระช่วงต่ำๆเพียง 10%
ด้วยซึ่งจะต้องมีประสิทธิภาพได้เกินกว่า 0.9
ซึ่งถือว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลยสำหรับการทำงานในช่วงนี้ สำหรับ PSU
ที่ใช้ไฟด้าน AC 220V จึงจะได้การการันตีมาในระดับนี้
เม้นแรกเว้ยๆเย่
ตอบลบ