วันพุธที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ระบบเสียงคอมพิวเตอร์เเละการจัดวางลำโพงระบบเสียงต่างๆ

การ์ดเสียง หรือ ซาวน์การ์ด (sound card)
คืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลที่เก็บรายละเอียดเกี่ยวกับเสียงต่าง ๆ แปลงเป็นสัญญาณเสียงในรูปแบบสัญญาณทางไฟฟ้า
เสียงเป็นส่วนสำคัญของระบบมัลติมีเดียไม่น้อยกว่าภาพ ดังนั้นการ์ดเสียงจึงเป็นอุปกรณ์ จำเป็นที่สำคัญของระบบ คอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย การ์ดเสียงได้รับการพัฒนาคุณภาพอย่างรวดเร็วเพื่อ ให้ได้ประสิทธิภาพของเสียงและความผิดเพี้ยน น้อยที่สุด ตลอดจนระบบเสียง 3 มิติในปัจจุบัน ความชัดเจน ของเสียงจะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ อัตราการสุ่มตัวอย่าง และ ความแม่นยำ ของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้นถูกกำหนด โดยความสามารถของ A/D Converter ว่ามีความ ละเอียดมากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะประมาณ ค่าสัญญาณดิจิตอลได้ใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุด ความละเอียดของ A/D Converter นั้นถูก กำหนด โดยจำนวนบิตของสัญญาณดิจิตอลเอาต์พุต เช่น - A/D Converter 8 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ - A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ หากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของสัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือ ประสิทธิภาพที่ของเสียง ที่ได้รับดีขึ้นนั่นเอง แต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่างจะมากขึ้นด้วย
ส่วนประกอบ
การ์ดเสียงเกิดจากการนำเอาอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์มาประกอบรวมกันบนแผง PCB (Print Circuit Board) โดยมี ชิปที่เป็นอุปกรณ์หลักในการสร้างเสียงคือ Synthesizer ซึ่งในปัจจุบันมักเป็นแบบ wave table โดยผู้ผลิตชิปสังเคราะห์ เสียงที่มีชื่อเสียง คือ ESS และ Yamaha ส่วนอื่นจะเป็นช่องต่อสำหรับนำสัญญาณเข้า-ออก เพื่อทำงานด้านเสียง
1. คอนเน็คเตอร์ CD Audio เป็นส่วนที่อยู่ในเครื่อง เพื่อรับสัญญาณเสียงแบบอนาล็อกจากไดร์ฟซีดีรอมผ่านสายเชื่อม ต่อที่มี 4 ช่อง สำหรับนำมาเสียบเข้ากับตัวคอนเน็คเตอร์ การเสียบผิด ด้านไม่ทำให้เสียหายแต่จะเป็นการสลับช่องสัญญาณออก สู่ ลำโพงซ้าย-ขวา เท่านั้น
2. ชิปสังเคราะห์เสียง หรือ Synthesizer ในยุคแรกเป็นแบบ FM ที่เรียกว่า Frequency Modulation เป็นการ สังเคราะห์เสียงแบบผสมความถี่ซึ่งไม่นิยมใช้ ปัจจุบันนี้ เพราะไม่สามารถให้เสียงที่เป็นธรรมชาติเหมือนเครื่องดนตรีจริงได้ WaveTable เป็นวิธีการสังเคราะห์เสียงที่นิยมใช้กันมากที่สุด ในยุคปัจจุบันเนื่องจากสามารถให้เสียงได้ใกล้เคียงกับเครื่อง ดนตรีจริงมากที่สุด ซึ่งวิธีการคือ บันทึกเสียงเครื่องดนตรีจริงของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดไว้เป็นช่วงสั้น ๆ เพื่อเก็บไว้เป็นต้น แบบไปหาจากเสียงต้นแบบในตารางเสียงที่มีความถี่เดียวกันมา การ์ดเสียงที่ใช้วิธีการนี้ จึงให้เสียงเหมือนกับมีเครื่องดนตรี บรรเลงอยู่จริง ๆ
3. ช่อง Line - out (สีชมพู) ช่องต่อนี้จะมีเฉพาะการ์ดเสียงแบบ 4 แชนแนล ใช้สำหรับต่อสัญญาณเสียง ไปยังลำโพง แบบ Surround ซ้าย-ขวา
4. ช่อง Line - in (สีน้ำเงิน) สำหรับรับสัญญาณเสียงจากอุปกรณ์กำเนินเสียงอื่น เช่น เครื่องเล่นวิทยุ - เทป เครื่องเล่นซีดี ฯลฯ เข้ามาที่การ์ดเพื่อขยายสัญญาณเสียง หรือแสดงผลที่เครื่องของเรา
5. ช่อง Speaker (สีเขียว) สำหรับส่งสัญญาณเสียงจากการ์ดเสียงออกไปยังลำโพงปกติในแบบสเตอริโอ
6. MIDI/Game Port เป็นคอนเน็คเตอร์รูปตัว "D" ใช้ต่อพ่วงอุปกรณ์ประเภท MIDI หรืออุปกรณ์สำหรับเล่นเกม เช่น จอยสติก เกมแพด ฯลฯ

AC ‘97 มาตรฐานการ์ดเสียงออนบอร์ด

 ในทุกวันนี้ เราซื้อคอมพิวเตอร์มาใช้งานในราคาประหยัด มักจะมีสิ่งต่างๆ วางเรียงรายบนเมนบอร์ด เพื่อราคาที่เราคว้าถึง และหนึ่งในนั้นคือ Sound CardSound Card ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราพูดได้ (ฮา) และที่เราพบเห็นๆ ถึงเทคโนโลยีที่ใช้นั้น นับวันจะมีความสามารถมากขึ้น อย่างเทคโนโลยี Audio Codec ‘97 หรือที่เราเห็นติดตา ได้ยินติดหูว่า AC ‘97 นั้นเอง โดยมาตรฐานของ AC ‘97 มีรายละเอียดดังนี้…
AC ‘97 Version 1.0 กำหนดให้สเปคพื้นฐานของระบบเสียงนั้นจำเป้นต้องมี การเชื่อมต่อลำโพงอย่างน้อย 2 ตัว มีการเชื่อต่อกับซีดีรอม ซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐาน
AC ‘97 Version 2.1 เพิ่มความสามารถพื้นฐานขึ้นมาอีกหน่อยครับ โดยเราสามารถเชื่อต่อลำโพงได้มากกว่า 2 ตัว
AC ‘97 Version 2.2 ความสามารถก็เพิ่มขึ้นมาอีกขั้น โดยมีการรองรับการเชื่อมต่อแบบ S/PDIF ทำให้เสียงที่ถูกส่งมาในรูปแบบดิจิตอล ถูกถอดรหัสที่ลำโพงโดยตรง ในวิธีการนี้ จะทำให้ระบบเสียงของเราคมชัดมากขึ้น
AC ‘97 Version 2.3 ได้เพิ่มการปรับแต่งคุณสมบัติต่างๆ ได้ด้วยตนเอง และมีระบบเตือนในกรณีเราต่อหัวต่อผิด โดยจะมีเสียงปี๊บๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ดังออกมา นับเป็นสิ่งที่ดีขึ้นมาก




มารู้จักระบบเสียง HD
LPCM  (Linear Pulse Code Modulation) จะให้คุณภาพเสียงได้ดีที่สุดเพราะเป็นการบันทึกจากเทปต้นแบบโดยตรงแบบไม่มีการบีบอัดจึงสามารถถ่ายทอดรายละเอียดของเสียง
ออกมาได้อย่างครบถ้วนไม่มีตกหล่น ระบบเสียง LPCM Multi-channel ถึงแม้ว่าจะให้คุณภาพเสียงได้ดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับระบบเสียงฟอร์แมตแบบบีบอัดอื่นๆ             
แต่จะใช้อัตราความเร็วบิทข้อมูลที่สูงกว่าทำให้มีความสิ้นเปลืองพื้นที่บันทึกเสียงในแผ่นมากที่สุด            
Dolby TrueHD   เป็นระบบเสียงรอบทิศทางที่ไม่มีการสูญเสียของข้อมูลเลย นั่นหมายความว่าสัญญาณเสียงที่เราได้ยินจากระบบ Dolby TrueHD นั้น            
จะมีความเที่ยงตรงเหมือนกับที่บันทึก มาจากสตูดิโอเลยทีเดียว และยังสามารถ รองรับช่องสัญญาณเสียงได้สูงสุดถึง 8 channel            
โดยเมื่อเทียบกับระบบเสียง Dolby Digital แบบเก่า Dolby TrueHD จะให้คุณภาพเสียงที่ดีขึ้นถึง 28* เท่าเลยทีเดียว             
วัดจาก Bit-rate โดย Dolby Digital จะให้ Bit-rate = 0.64 Mbps ขณะนี้ Dolby TrueHD ให้ Bit-rate = 18 Mbps)             
DTS-HD MA  (DTS-HD Master Audio) เป็นระบบเสียงรอบทิศทางที่ไม่มีการสูญเสียของข้อมูลคล้ายกับDolby TrueHDและรองรับช่องสัญญาณได้ถึง 8 channel เหมือนกัน            
แต่สิ่งที่ DTS-HD Master Audio มีเหนือกว่าก็คือ คุณภาพเสียงซึ่งสามารถให้ได้มากถึง 28 Mpbs            
            
แต่ในด้านความนิยมหรือความหลากหลายของแผ่นซอฟแวร์ให้ปัจจุบัน ดูเหมือนว่าทางบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์ จะให้ความสำคัญกับ Dolby TrueHD มากกว่า            
ทำให้แผ่น Blu-ray disc ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมี Dolby TrueHD มาด้วย ในขณะนี้แผ่น Blu-ray Disc ที่มีระบบเสียง DTS-HD Master Audio ยังมีจำนวนค่อนข้างน้อย            
            
ไฟล์ฟูลริปเนื่องจากdvicoนั้นไม่สามารถเข้าไปชมเบื้องหลังได้ทุกเรื่องจะชมเบื้องหลังต้องเข้าเมนูของไฟล์ฟูลริปได้ ซึ่งน้อยเรื่องที่จะเข้าเมนูหนังได้มีไม่ถึง 30 เปอร์เชนต์ทำให้เสีย            
เนื้อที่ในการจัดเก็บโดยเปล่าประโยชน์ ทางเราเลยตัดเบื้องหลัง เสียงภาษาต่างประเทศ Subภาษาต่างประเทศทิ้ง ขนาดไฟล์จะลดลงมากบางเรื่องใหญ่กว่าMKV นิดเดียวครับ            
ทำให้สามารถจุข้อมูลได้มากขึ้น ไฟล์หนังทั้งหมดได้ผ่านการเทสกับ DVICO6500  FW1.4.25 ครับผม              
ไฟล์ฟูลริปจะเหลือข้อมูลตามนี้ครับ            
1.เฉพาะตัวหนังแบบไม่ลดบิตเรตใดๆคุณภาพเหมือนดูจากแผ่นบลูเรย์ เป็นไฟล์เดียวครับเรื่องที่เคยแบ่งเป็นไฟล์ย่อยๆอย่าง Gladiator A Bug Life  Cars ก็จะรวมเป็นไฟล์เดียวครับ            
เครื่องที่มีปัญหาในการชมอย่างไฟล์ย่อยอย่าง DVICO6600 BEVIX หรือแม้แต่ DVICO6500 ที่มีปัญหาไฟล์แบ่งย่อยในบางเรื่อง จะไร้ปัญหานี้ครับ            
2.เสียง ENG แบบ HD มีทั้ง LPCM   DTS HD MA   DOLBY TRUE HD  ดูได้ในลิสหนังเลยครับ            
3.เสียง ENG DOLBY 5.1 และ DTS 5.1 สำหรับ AVR รุ่นที่ยังไม่สามารถถอดเสียงแบบ HD ได้ครับ ดูรายละเอียดได้ในลิสเลยครับ            
4.เสียงไทย ทั้ง DOLBY 5.1 และ DTS 5.1 ได้โมใส่เพิ่มให้ครับ เลือกดูได้ตามใจชอบครับ ดูรายละเอียดได้ในลิสเลยครับ            
5.Subtitle จะเหลือแค่ ENG กับ THAI  แบบเดียวกับซับจากแผ่น BLURAY มาสเตอร์ ซับไทยเลือกตรง THA ได้เลยครับ เลือกเปิดปิดเปลี่ยนซับได้ตามต้องการ  

มาตรฐานและระบบเสียงลำโพง
เสียงเป็นข้อมูลชนิดหนึ่งที่นำมาใช้งานด้านมัลติมีเดียต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ โดยการนำไปใช้ประโยชน์ในการบันเทิง โดยใช้เสียงและลำโพงในการกระจายข้อมูลเป็นคลื่นความถี่ให้เราได้ยินและทำงานกับการ์ดเสียงระบบเสียงในรูปแบบต่างๆ จะได้คุณภาพเสียงที่ดี ในปัจจุบันระบบเสียงมีการพัฒนาไปในด้านคุณภาพเสียงที่ดีมีการกำหมดให้สมจริงเพื่อเป็นการเพิ่มอรรถรสในการฟัง จึงได้กำหนดมา๖รฐานของคุณภาพเสียงเพื่อให้ได้เสียงที่แตกต่างกันในระบบต่างๆ ที่ใช้เสียงเป็นองค์ประกอบของระบบ
ระบบเสียง 3 มิติ เป็นระบบเสียงเซอร์ราวน์หรือว่าระบบเสียงรอบทิศทาง เป็นระบบเสียงที่ได้พัฒนาขึ้นจากใช้ลำโพงสองตัวในระบบสเตอริโอแบบเดิมเป้ฯการเพิ่มลำโพงในการกระจายเสียงให้รอบทิศทาง จะทำให้เสียงที่เราได้ยินมาได้หลายทิศทางเหมาะสำหรับการชมภาพยนตร์ได้ได้เสียงที่มาจากหลายทางมากขึ้น โดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปโรงหนังก็มีระบบเสียงดีๆได้ที่บ้าน โดยจะมีขั้นต่างๆ ในการพัฒนา
ระบบเสียงลำโพง
           ระบบเสียงของลำโพงเป็นการกำหนดจำนวนและขนาดของโพงพร้อมด้วยตำแหน่งที่ควรจัดวางจะทำให้ระบบเสียงที่กระจายได้ในตำแหน่งเดียวกับเสียงภาพยนตร์และภาพจะทำงานอย่างสอดคล้องกัน อย่างเช่นเสียงเดินมาจากทางด้านซ้ายเสียงลำโพงด้านซ้ายทั้งหมดจะทำงานให้สอดคล้องกันเมื่อเข้าใกล้ก็จะมีความเข้มข้นของเสียงที่มากขึ้นด้วย ระบบลำโพงนอกจากรอบทิศทางแล้วยังพัฒนาให้มีเสียงทุ้มทำให้เสียงที่ได้ยินแยกอิสระต่อกันเสียงจะทุ้มนุ่มมากขึ้น โดยทาง Dolby Lab เป็นผู้คิดค้นและพัฒนาระบบเสียงที่เราใช้กันทั่วโลกระบบเสียงที่ว่านี้จะถูกตราสัญลักษณ์ไว้ข้างกล่องสินค้าที่ใช้ระบบเสียงนี้ทุกชนิด ซึ่งจะมีการรองรับที่ต่างกัน


แบบ 2.1 เป็นระบบเสียงที่มีลำโพง 3 ตัว โดยระบบเสียงรุ่นเดิมจะมีลำโพงแค่สองตัวในระบบสเตอริโอธรรมดาหากเป็น 2.1 จะมีลำโพงอีก 1 ตัว โดยจะดีกว่าระบบเดิมเพียงเล็กน้อยตรงที่ลำโพงที่ให้จะเป็นเสียงทุ้มทำให้เสียงฟังสบายและแยกความแตกต่างของเสียงได้ชัดเจนขึ้น
แบบ 4.1 จาก 2.1 เป็น 4.1 โดยจะมีการเพิ่มลำโพงด้านหลังอีก 2 ตัว เป็นลำโพงคู่หลังวางไว้ที่ข้างซ้ายและขวา ทำให้ได้รับเสียงระบบรอบทิศทางที่ดีขึ้น




 แบบ 5.1 จะมีลำโพงตรงกลางด้านหน้าอีก 1 ตัว เป็นระบบที่ทำให้ได้รับชมและฟังเสียงภาพยนตร์อย่างเต็มรูปแบบ รองรับ Dolby Digital ด้วย
แบบ 6.1 เป็นการเพิ่มลำโพงด้านหลังตรงกลางอีกหนึ่งตัว รองรับระบบ Dolby Digital EX หรือ DTS ES แต่เป็นระบบที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมส่วนมากจะใช้ 7.1 ไปเลย
แบบ 7.1 เป็นระบบที่ได้พัฒนามาสูงที่สุดในปัจจุบัน จะมีการเพิ่มลำโพงสองตัว ตรงกลางซ้ายขวา โดยไม่มีลำโพงด้านหลังกลางเหมือนกัน 6.1 แต่ก็ต้องใช้งานร่วมกับการ์ดเสียงที่รองรับระบบนี้ด้วย ทำให้ได้รับเสียงจากภาพยนตร์ที่สมจริงมากที่สุด
การที่เราจะได้รับฟังเสียงที่มีคุณภาพอย่างเต็มขึ้นนั้นนอกจากลำโพงที่มีจำนวนตรงตามมาตรฐานแล้วต้องเป็นลำโพงที่มีเสียงคุณภาพดี นองจากนั้นจำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์ในการรองรับเสียงชนิดที่มีความสอดคล้องกันทั้งลำโพงและระบบเสียงด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น