วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เครื่อง Scanner เครื่อง Barcode Scanner และชนิดของ barcode

สแกนเนอร์ (Scanner)
สแกนเนอร์ (Scanner) หมายถึง อุปกรณ์ต่อพ่วงที่ทำหน้าที่กวาดจับภาพ ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่อ่านโดยช่องอ่านของสแกนเนอร์และเก็บไว้ในรูปแบบของไฟล์รูปภาพหรือไฟล์อักษรซึ่งใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บน้อยกว่าไฟล์รูปภาพเป็นพันๆเท่า โดยการใช้โปรแกรมจดจำตัวอักษรที่เรียกว่าโปรแกรมOCR(OpticalCharacterRecognition)ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บเอกสาร และช่วยให้งานพิมพ์เอกสารลดลงได้อย่างมากมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วจะจัดเก็บไว้ในรูปแบบของไฟล์รูปภาพ จึงเรียกอุปกรณ์นี้ว่า อิมเม็จ สแกนเนอร์ ( Image Scanner) ซึ่งสามารถจัดเก็บและบันทึกไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังสามารถนำส่งออกไปเป็นแฟ็กซ์ หรือเป็นไฟล์ข้อมูลผ่านทาง Fax/Modem ได้
      สแกนเนอร์เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลประเภทที่ไม่สะดวกในการป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ทางคีย์บอร์ดได้ เช่น ภาพโลโก้ วิวทิวทัศน์ ภาพถ่ายรูปคน สัตว์ ฯลฯ เราสามารถใช้สแกนเนอร์สแกนภาพเพื่อแปลงเป็นข้อมูลเข้าไปสู่เครื่องได้โดยตรง หน่วยประมวลผลจะนำข้อมูลที่ได้รับมานั้นแสดงเป็นภาพให้ปรากฏอยู่บนจอภาพ เพื่อนำมาแก้ไขสี รูปร่าง ตัดแต่ง และนำภาพไปประกอบงานพิมพ์อื่นๆ ได้ การทำงานของสแกนเนอร์อาศัยหลักของการสะท้อนแสง โดยเมื่อเราวางภาพลงไปในสแกนเนอร์ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะวิธีการใช้งานของสแกนเนอร์แต่ละแบบว่าจะใส่ภาพเข้าไปอย่างไร      สแกนเนอร์จะทำการฉายแสงไปกระทบกับวัตถุให้สะท้อนไปตกบนตัวรับแสงทีละแถว ข้อมูลในแถวนั้นๆ ก็จะถูกแปลงเป็นจุดเล็กๆ ในลักษณะสัญญาณดิจิตัลเข้าไปเก็บในหน่วยความจำ เมื่อต้นกำเนิดแสงและตัวรับแสงเลื่อนไปยังภาพแถวต่อไป สัญญาณที่ได้จากแถวต่อมาก็จะถูกส่งต่อเนื่องกันไปจนสุดภาพ
สแกนเนอร์แบ่งเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ
1.สแกนเนอร์มือถือ (Hand-Held Scanner) มีขนาดเล็ก ราคาไม่แพงนัก เก็บภาพขนาดเล็กๆ ซึ่งไม่ต้องการความละเอียดมากนักได้ เช่น โลโก้ ลายเซ็น เป็นต้น


2.สแกนเนอร์ดึงกระดาษ (Sheet-Fed Scanner) เป็นสแกนเนอร์ที่ใหญ่กว่าสแกนเนอร์มือถือ ใช้หลักการดึงกระดาษขึ้นมาสแกนทีละแผ่น แต่มีข้อจำกัดคือถ้าต้องการสแกนภาพจากหนังสือที่เป็นรูปเล่ม ต้องฉีกกระดาษออกมาทีละแผ่น ทำให้ไม่สะดวกในการสแกน คุณภาพที่ได้จากสแกนเนอร์ประเภทนี้อยู่ในระดับปานกลาง


3.สแกนเนอร์แท่นเรียบ (Flatbed Scanner) เป็นสแกนเนอร์ที่มีกระจกใสไว้สำหรับวางภาพที่จะสแกน เหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร คุณภาพของงานสแกนประเภทนี้จะดีกว่าสแกนเนอร์แบบมือถือ หรือสแกนเนอร์แบบดึงกระดาษ แต่ราคาสูงกว่าเช่นกัน
ปัจจุบันสแกนเนอร์รุ่นใหม่ๆ มีขีดความสามารถในการใช้งานมากขึ้นทั้งในเรื่องของความเร็ว และความละเอียดของภาพที่ได้จากการสแกน นอกจากนี้ยังสามารถสแกนจากวัตถุอื่นๆ ที่ไม่ใช่กระดาษเพียงอย่างเดียว เช่น วัตถุ 3 มิติ ที่มีขนาดและน้ำหนักที่ไม่มากจนเกินไป หรือแม้กระทั่งฟิล์มและสไลด์ของภาพต้นฉบับเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้เลยโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปอัดขยายเป็นภาพถ่ายปกติเหมือนในอดีต

ส่วนประกอบของสแกนเนอร์
     1. แผ่นปิด (Document Cover)เป็นส่วนที่มีความสำคัญ เพราะใช้สำหรับป้องกันแสงจากภายนอกที่อาจจะเข้าไปรบกวนในขณะที่สแกนเนอร์ทำงาน ดังนั้นเมื่อสแกนภาพทุกครั้งจะต้องปิดแผ่นปิดเสมอ แต่บางครั้งอาจจะถอดฝาดังกล่าวออกได้หากเอกสารที่นำมาสแกนมีความหนาและสามารถที่ปิดกระจกวางได้สนิท
     2. แผ่นกระจกวางรูป (Document Table) เป็นบริเวณที่นำภาพมาวางขณะสแกนภาพ
     3. คาร์เรียจ (Carriage) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดสำหรับการสแกนภาพ ประกอบด้วยอุปกรณ์หลักๆอยู่ 2 ประเภท คือ ตัวตรวจจับแสง (Optical Sencor) และหลอดฟลูออเรสเซนต์
     4. แผงหน้าปัทม์ควบคุม ใช้สำหรับกำหนดและควบคุมการทำงานสแกนเนอร์ ในเรื่องของความละเอียด ความสว่าง (Brightness) สัดส่วนขนาดของภาพ และการเลือกพิมพ์จากภาพสแกน
     5. ดิพสวิตซ์ ใช้สำหรับบอกลักษณะการติดต่อระหว่างสแกนเนอร์กับคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์ที่ใช้ในการสแกนภาพ
     1.  สแกนเนอร์
     2 . สาย SCSI หรือ USB (Universal Serial BUS )สำหรับต่อสายจากการสแกนเนอร์กับไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
     3 . ซอฟต์แวร์สำหรับการสแกนภาพ ซึ่งทำหน้าที่สำหรับควบคุมการทำงานของสแกนเนอร์ให้สแกนภาพได้ตามที่กำหนด
     4.  ซอฟต์แวร์สำหรับการแก้ไขภาพที่สแกนมาแล้วเช่นPhotoshopImagescanIIหรือกรณีที่ต้องการสแกนเอกสารเก็บไว้เป็นไฟล์ที่นำกลับมาแก้ไขได้ อาจจะมีซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนการทำงานด้าน OCR
     5 . จอภาพที่เหมาะสมสำหรับการแสดงภาพที่สแกนมาจากสแกนเนอร์
     6 . เครื่องมือสำหรับแสดงพิมพ์ภาพที่สแกนออกมา เช่น เครื่องพิมพ์หรือ สไลด์โปรเจคเตอร์
ขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน (CanoScan Toolbox 4.)
1.วางเอกสารบนสแกนเนอร์
2.เรื่มต้น CanoScan Toolbox Windows คลิ๊กเมนู [Start] แล้วเลือก [(All) Programs], [Canon], [CanoScan Toolbox 4.] และ [CanoScan Toolbox 4.] (ให้ Windows XP screenshot เป็นตัวอย่าง)
Macintosh
เปิดโฟลเดอร์ [Applications] แล้วดับเบิ้ลคลิ๊กโฟลเดอร์ [CanoScan Toolbox 4.] ตามด้วยไอคอน [CanoScan Toolbox X]




   
3.หน้าต่างหลัก CanoScan Toolbox แสดงขึ้น
4. คลิ๊กปุ่มที่เหมาะสม (หน้าต่างตั้งค่าที่เกี่ยวข้องปรากฎขึ้น)


5.กำหนดการติดตั้งสแกนเนอร์ เเละตำแหน่งที่ต้องการจัดเก็ฐภาพสแกน ถ้าเป็นไปได้ท่านอาจต้องทำการติดตั้งเครื่องพิมพ์
6. คลิ๊ก "Scan"


7. การสแกนเริ่มขึ้นตามการตั้งค่าที่ทำขึ้นในขั้นตอนที่ "5" เมื่อสิ้นสุดการสแกน ฟังก์ชั่นจะทำงานโดยการคลิ๊กปุ่มในขั้นตอนที่ "4"
การทำงานของสแกนเนอร์
     1. เทคนิคการสแกนภาพ
         - สแกนเนอร์สีแบบสแกนผ่านครั้งเดียว ( One-Pass Scanners)
         - สแกนเนอร์สีแบบสแกนผ่านสามครั้ง ( Three-Pass Color Scanners)
ผังการทำงานของสแกนเนอร์ขาวดำ


2. เทคโนโลยีการสแกนภาพ
         - แบบ PMT (Photomultiplier Tube)
         - แบบ CCD (Charge-Coupled Deiver)
         - แบบ CIS (Contact Image Sensor)
3. โปรแกรมควบคุม  
4. การบันทึกข้อมูล
         - รูปแบบของข้อมูลภาพ (Image Data Type)
         - ภาพขาวดำ (Black & White)
         - ภาพสีเทา (Grayscale)
         - ภาพ 16 และ 256 สีที่ได้กำหนดไว้แล้วในตารางสี ( Indexed 16 and 256-Color)
         - ภาพ RGBสีจริง (RGB True Color)
         - ภาพ 8 สี (RGB 8-Color)
         - ตัวหนังสือ
         - รูปแบบของไฟล์รูปภาพมาตรฐาน  

ตาราง ตัวอย่างมาตรฐานไฟล์รูปภาพ
รูปแบบ
คำอธิบาย
TIFF
(Tagged Image File Format) พัฒนาขึ้นโดย บริษัท Aldus และ Microsolf ในปี 1986เพื่อใช้ร่วมกับสแกนเนอร์แบบตั้งโต๊ะและงานพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ (DTP-Desktop Publisher) รูปแบบของ TIFFที่ยังไม่บีบอัดคือ TIFF แบบธรรมดาจะไม่ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์และโปรแกรม แต่ถ้าเป็น TIFF แบบบีบอัดข้อมูลแล้วจะขึ้นอยู่กับอุปกรณ์และโปรแกรม iPhoto Deluxe สามารถอ่านไฟล์ TIFF แบบบีบอัดส่วนมากได้ และยังสามารถเก็บบันทึกภาพด้วย TIFF แบบบีบอัดได้ โปรแกรมอื่น ๆที่สนับสนุนไฟล์ TIFF ได้แก่ ColorStudio, CoreIDRAW, PageMaker, PC Paintbrush IV Plus, PhotoShop, Piccture Publisher Plus, PowerPoint, PrePrint และ Ventura Publisher เป็นต้น
TGA
(Targa) พัฒนาขึ้นโดยบริษัท TrueVision สำหรับใช้กับอุปกรณ์บอร์ดวีดิโอสีแบบเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบอร์ด TARGA นับเป็นรูปแบบของไฟล์ภาพที่ใช้กันเฉพาะในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
BMP
(Windows Bitmap) ผลิตโดยบริษัท Microsoft เป็นรูปแบบที่ยอมให้วินโดวส์และแอปพลิเคชั่นของวินโดวส์แสดงภาพได้บนอุปกรณ์ต่างๆ รูปแบบนี้สามารถเก็บบันทึกไว้เป็นสี เพื่อนำมาใช้งานในภายหลังได้ เช่นโปรแกรมที่ใช้กับ Windows Paintbrush หรือโปรแกรม Windows เองโดยตรง

5. การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
         - ขนาดของไฟล์ภาพและความคมชัด
         - ตั้งค่า Resolution ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
         - ขนาดของไฟล์ที่สแกนได้
         - เฉดสีหลากหลาย

โปรแกรมที่ใช้กับสแกนเนอร์
      1. โปรแกรมไดร์เวอร์สำหรับสแกนเนอร์
     เป็นโปรแกรมที่จำเป็นที่สุดในการใช้งานสแกนเนอร์ โปรแกรมดังกล่าวจะต้องมาพร้อม กับอุปกรณ์ โดยอาจจะบรรจุอยู่ในแผ่นดิสก์ติดตั้งแยกต่างหาก หรืออาจรวมมากับโปรแกรม OCR หรือโปรแกรมแต่งภาพก็ได้ ไฟล์ที่ใช้งานมักจะลงท้ายด้วย .sys หรือ .drv เสมอ
      2. โปรแกรม OCR
     OCR ย่อมาจาก Optical Character Recognition เป็นโปรแกรมที่สามารถจดจำตัว อักษรและสามารถแปลงไฟล์กราฟิกหรือไฟล์รูปภาพ(Graphic File)ให้เป็นไฟล์ตัวอักษร (text File)ได้ ช่วยให้ไม่ต้องพิมพ์ข้อความต่างๆที่มีอยู่ซ้ำด้วยแป้นพิมพ์ เพียงแต่สแกนด้วยสแกนเนอร์ แล้วใช้คำสั่งที่มีอยุ่ในโปรแกรมแปลงภาพที่ต้องการเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของไฟล์ตัวอักษร ก็สามารถเรียกไฟล์ดังกล่าวออกมาดู แก้ไข ดัดแปลง โดยใช้โปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ใดๆก็ได้ ช่วยลดงานพิมพ์ลงเป็นจำนวนมาก ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายลงได้ โปรแกรมเหล่านี้มักจะมีคำว่า OCR เป็นส่วนประกอบของชื่อโปรแกรมอยู่ด้วย เช่น โปรแกรม ReadiRis OCR โปรแกรม ThaiOCR และ โปรแกรม Recognita GO_CR เป็นต้น โปรแกรม OCR นอกจากจะใช้คู่กับสแกนเนอร์แล้ว ยังพบอยู่กับโปรแกรมที่ใช้คู่กับ Fax/Modemอีกด้วย ทั้งนี้เพราะสามารถใช้เครื่องส่งโทรสารหรือเครื่องส่งแฟ็กซ์ แทนสแกนเนอร์ได้ หรือจะเรียกเครื่องโทรสารเป็นสแกนเนอร์ชนิดได้ โปรแกรมแฟ็กซ์/โมเด็มที่กล่าวถึงได้แก่ โปรแกรม QuickLink Gold โปรแกรม WinFax Pro โปรแกรม SuperFax โปรแกรม UltraFax เป็นต้น
     3. โปรแกรมแต่งภาพและจัดอัลบัมภาพ
     เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับตกแต่งภาพที่ได้จากการสแกน และภาพจากไฟล์กราฟิกที่มี นามสกุลต่าง ๆ เช่น TIF, BMP, PCX, TGA, GIF, SPG, CGM, EPS, PCD, WMF ฯลฯ ชื่อโปรแกรมมักมีคำว่า Photo หรือ Image ร่วมอยู่ด้วย เช่น โปรแกรม iPhoto Deluxe โปรแกรม ImagePro โปรแกรม ImagePals! Go! เป็นต้น แต่ก็อาจจะไม่มีคำดังกล่าวก็ได้ เช่น โปรแกรม Finishing TOUCH เป็นต้น โปรแกรมกราฟิกและโปรแกรมสำหรับทำ Presentation ก็มักจะมีคำสั่ง Scan สำหรับใช้กับสแกนเนอร์ด้วยเช่นกัน เช่น โปรแกรม CorelDraw! เป็นต้น

ประเภทของภาพที่เกิดจากการสแกน แบ่งเป็นประเภทดังนี้
     1. ภาพ Single Bit
         ภาพ Single Bit เป็นภาพที่มีความหยาบมากที่สุดใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูล น้อยที่สุดและ นำมาใช้ประโยชน์อะไรไ่ม่ค่อยได้ แต่ข้อดีของภาพประเภทนี้คือ ใช้ทรัพยากรของเครื่องน้อยที่สุดใช้พื้นที่ ในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุด ใช้ระยะเวลาในการสแกนภาพน้อยที่สุด Single-bit แบ่งออกได้สองประเภทคือ
         - Line Art ได้แก่ภาพที่มีส่วนประกอบเป็นภาพขาวดำ ตัวอย่างของภาพพวกนี้ ได้แก่ ภาพที่ได้จากการสเก็ต
         - Halftone ภาพพวกนี้จะให้สีที่เป็นโทนสีเทามากกว่า แต่โดยทั่วไปยังถูกจัดว่าเป็นภาพประเภท Single-bit เนื่องจากเป็นภาพหยาบๆ
     2. ภาพ Gray Scale
         ภาพพวกนี้จะมีส่วนประกอบมากกว่าภาพขาวดำ โดยจะประกอบด้วยเฉดสีเทาเป็นลำดับขั้น ทำให้เห็นรายละเอียดด้านแสง-เงา ความชัดลึกมากขึ้นกว่าเดิมภาพพวกนี้แต่ละพิกเซลหรือแต่ละจุดของภาพอาจประกอบด้วยจำนวนบิตมากกว่า ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น
     3. ภาพสี
         หนึ่งพิกเซลของภาพสีนั้นประกอบด้วยจำนวนบิตมหาศาล และใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมาก ควาามสามารถในการสแกนภาพออกมาได้ละเอียดขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับว่าใช้สแกนเนอร์ขนาดความละเอียดเท่าไร
     4. ตัวหนังสือ
         ตัวหนังสือในที่นี้ ได้แก่ เอกสารต่างๆ เช่น ต้องการเก็บเอกสารโดยไม่ต้อง พิมพ์ลงในแฟ้มเอกสารของเวิร์ดโปรเซสเซอร์ ก็สามารถใช้สแกนเนอร์สแกนเอกสาร ดังกล่าว และเก็บไว้เป็นแฟ้มเอกสารได้ นอก จากนี้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถใช้ โปรแกรมที่สนับสนุน OCR (Optical Characters Reconize) มาแปลงแฟ้มภาพเป็น เอกสารดังกล่าวออกมาเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถแก้ไขได้

Barcode Scanner หรือ เครื่องอ่านบาร์โค้ด คือ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลที่อยู่ในแท่งบาร์โค้ด แล้วแปลงให้เป็นข้อมูลที่สามารถเข้าใจได้โดยคอมพิวเตอร์

หน้าที่ของเครื่องอ่านบาร์โค้ด

1. หา Elements ที่ถูกต้องของ Bar และ Space
2. กำหนดส่วนกว้างของแต่ละ Bar และ Space
3. จัดกลุ่มของบาร์โค้ดที่อ่านเข้ามา
4. นำ Element Widths เปรียบเทียบกับรูปแบบตารางบาร์โค้ด
5. ตรวจสอบ Start/Stop Characters เวลาที่มีการอ่านกลับทิศทาง
6. ยืนยัน Quiet Zone ทั้งสองข้างของบาร์โค้ด
7. ยืนยันความถูกต้องของ Check Characters

หลักการทำงานของเครื่องอ่านบาร์โค๊ด
1. เครื่องอ่าน (Reader) ฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค๊ด
2. รับแสงที่สะท้อนกลับมาจากตัวบาร์โค๊ด
3. เปลี่ยนปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมาให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า
4. เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นข้อมูลที่นำไปใช้งานได
1. เครื่องอ่าน (Reader)
ฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค้ด หรือ แหล่งกำเนิดแสง (Light Source) ภายในเครื่องอ่านบาร์โค้ดจะฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค้ด และกวาดแสงอ่านผ่านแท่งบาร์

2. รับแสงที่สะท้อนกลับมาจากตัวบาร์โค๊ด
ฉายการอ่านบาร์โค้ดจะใช้หลักการสะท้อนแสงกลับมาที่ตัวรับแสง

3. เปลี่ยนปริมาณแสงที่สะท้อนกลับมาให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า 
ภายในเครื่องอ่านบาร์โค้ดจะมีอุปกรณ์เปลี่ยนปริมาณแสง ที่สะท้อนกลับมาให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า
4. เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นข้อมูลที่นำไปใช้งานได้
สัญญาณไฟฟ้าจะไปเปรียบเทียบกับตารางบาร์โค้ดที่ ตัวถอดรหัส (Decoder) และเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานได้




สรุปหลักการทำงานของเครื่องอ่านบาร์โค้ด
เครื่องอ่านบาร์โค้ดจะฉายแสงลงบนแท่งบาร์โค้ด แล้วรับแสงที่สะท้อนกลับจากแท่งบาร์โค้ด ซึ่ง Space จะสะท้อนแสงได้ดีกว่าแท่งBar จากนั้นปริมาณแสงสะท้อนจะถูกเปลี่ยนไปเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า แล้วถูกส่งต่อไปยังตัวถอดรหัส (Decoder) และแปลงให้เป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานได้



 ประเภทของเครื่องอ่านบาร์โค้ด 

เครื่องอ่านบาร์โค้ด จำแนกออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบสัมผัส และ เครื่องอ่านบาร์โค้ด ไม่สัมผัส และยังสามารถแยกประเภทตามลักษณะการเคลื่อนย้ายได้ โดยแบ่งกลุ่มเป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable) และ  เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบยึดติดกับที่(Fixed Positioning Scanners)

เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเคลื่อนย้ายได้  (Portable)    เครื่องอ่านบาร์โค้ด ประเภทนี้ส่วนมากจะมีหน่วยความจำในตัวเอง เพื่อเก็บข้อมูลที่อ่านหรือบันทึกด้วยปุ่มกดสามารถนำอุปกรณ์ไปใช้ได้ง่ายโดยสามารถพกพาได้ การอ่านรหัสแต่ละครั้งจะนำเอาเครื่องอ่านเข้าไปยังตำแหน่งที่สินค้าอยู่ ส่วนมากเครื่องอ่านลักษณะนี้จะมีน้ำหนักเบา ส่วนแบบที่ไม่มีหน่วยความจำในตัวเองจะทำงานแบบไร้สายเหมือนโทรศัพท์ไร้สายที่ใช้ภายในบ้านซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องระยะทาง
เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบยึดติดกับที่  (Fixed Positioning Scanners)
  
เครื่องอ่านบาร์โค้ด ประเภทนี้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ส่วนมากจะติดตั้งกับด้านข้าง หรือตำแหน่งใดๆ ที่เหมาะสมในแนวทางวิ่งของสายพานลำเลียง เพื่ออ่านรหัสที่ติดกับบรรจุภัณฑ์และเคลื่อนที่ผ่านไปตามระบบสายพานลำเลียง บางครั้งเครื่องอ่านประเภทนี้จะติดตั้งภายในอุปกรณ์ของระบบสายพานลำเลียงเพื่อให้สามารถอ่านได้โดยอัตโนมัติ  อีกรูปแบบที่เราเห็นกันมาก จะฝังอยู่ที่โต๊ะแคชเชียร์ ตามห้างสรรพสินค้า โดยแคชเชียร์จะนำสินค้าด้านที่มีบาร์โค้ดมาจ่อหนาเครื่องอ่านที่ถูกฝังไว้กับโต๊ะ หรือตั้งไว้ด้านข้าง เครื่องอ่านจะทำการอ่านบาร์โค้ดโดยอัตโนมัติ เมื่อมีวัตถุเคลื่อนไหวอยู่ข้างหน้าตัวเครื่อง

เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบสัมผัส (Contact Scanners)
   เครื่องอ่านบาร์โค้ดประเภทนี้ เป็นอุปกรณ์ที่เวลาอ่าน ต้องสัมผัสกับผิวหน้าของรหัสแท่ง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

  • เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบปากกา (Pen Scanner) หรือแวนด์ (Wand) เป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่มีลักษณะเหมือนหัวปากกา โดยมีปลายปากกาเป็นอุปกรณ์สำหรับผลิตลำแสงเพื่ออ่านข้อมูล  น้ำหนักเบา พกพาสะดวก  มีข้อจำกัดเรื่องคุณภาพฉลากต้องดีมาก เพราะหัวอ่านที่สัมผัสบนรหัสแท่งอาจจะทำให้รหัสลบหรือเสียหายได้ เหมาะสำหรับอ่านบาร์โค้ดบนเอกสารหรือคูปอง
  • เครื่องอ่านบัตร (Slot Scanner)เป็น เครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่ใช้อ่านรหัสแท่งจากบัตรหรือวัสดุอื่น โดยต้องรูดบัตรที่มีบาร์โค้ดนั้นลงในช่องเพื่ออ่านข้อมูล เหมาะสำหรับรูดบัตรที่มีบาร์โค้ด อ่านรหัสบาร์โค้ดจากบัตรประจำตัว เพื่อบันทึกเวลาหรือดูข้อมูลต่างๆ ด้วยตัวเจ้าของบัตรเอง
เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบไม่สัมผัส (Non Contact Scanner)
เป็น เครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่มีหลายรูปแบบจากแบบง่ายๆ ที่ลักษณะคล้ายปีนที่เห็นตามร้านค้าปลีก จนถึงระบบแบบ Pocket PC สามารถอ่านโดยห่างจากรหัสแท่งได้ ทำให้ทำงานได้รวดเร็ว ง่ายและสะดวก โดยแบ่งเป็นหลายชนิดดังนี้
  • เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบ CCD (Charge Coupled Device Scanner) เครื่องอ่านบาร์โค้ด ประเภทนี้ เป็นเครื่องอ่านราคาถูก การทำงานจะอาศัยการสะท้อนของแสงจากรหัสแท่งและช่องว่างแล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณวีดีโอ เครื่องอ่านแบบนี้ในขณะอ่านจะไม่มีการเคลื่อนที่ชิ้นส่วน ความแม่นยำจะสูงกว่าแบบเลเซอร์ ใช้พลังงานน้อย อายุการใช้งานของอุปกรณ์ในการสร้างลำแสง (LED) จะยาวนานกว่าเครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบนี้ยังเป็นแบบตัดวงจรไฟอัตโนมัติในกรณีที่ไม่มีการใช้งาน
  • เครื่องอ่านบาร์โคดแบบ Linear Imaging โดย เครื่องอ่านบาร์โค้ด ประเภทนี้ เป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่ใช้หลักการอ่านโดยวิธีจับภาพโดยเลนซ์รับภาพเช่นเดียวกับกล้องถ่ายรูป ทำให้ระบบหัวอ่านมีความสามารถในการอ่านในเชิงเรขาคณิตสูงกว่าเครื่องอ่านแบบ CCD สามารถอ่านบาร์โค้ดขนาดเล็กมากๆได้ เนื่องจากใช้การอ่านด้วยตัวเลนซ์รับภาพทำให้จับภาพได้ระยะไกลขึ้น อ่านได้เร็วถึง 100-450 scan ต่อวินาที ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบ Linear Imaging มีความสามารถในการอ่านและความเร็วในการอ่านเหนือว่าการอ่านแบบ CCD แต่มีความทนทานเหมือนกัน และอ่านในระยะไกลได้เทียบเท่ามาตรฐานของเครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเลเซอร์
  • เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ ( Laser Scanner) เครื่องอ่านบาร์โค้ด ชนิดนี้มีวิธีการทำงาน คือเมื่อกดปุ่มอ่านรหัสจะเกิดลำแสงเลเซอร์ซึ่งมีกระจกเงาเคลื่อนที่มารับแสงแล้วสะท้อนไปตกกระทบกับรหัส และผ่านเป็นแนวเส้นตรงเพียงครั้งเดียว ลำแสงที่ยิงออกมาจะมีขนาดเล็กด้วยความถี่เดียว ไม่กระจายออกไปนอกเขตที่ต้องการทำให้สามารถอ่านรหัสที่มีขนาดเล็กได้ดี
สามารถแบ่งเครื่องอ่านเลเซอร์ตามประเภทของการอ่านได้ดังนี้
  • เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเลเซอร์ชนิดเส้นเดี่ยว ( Single Line laser Scanner)
  • เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเลเซอร์ชนิดหลายเส้น ( Multiple Line Laser Scanner)
          เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายเส้น (Raster) เหมาะสำหรับการอ่านบาร์โค้ดแบบติดตั้งอยู่กับที่โดยอ่านบาร์โค้ดที่กล่องซึ่งมีตำแหน่งบาร์โค้ดไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน โดยทั่วไปเครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบนี้จะมี เส้นเลเซอร์ตั้งแต่ 2-10 เส้น เป็นแสงเลเซอร์ในแนวขนานกัน
          เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายเส้นหลายทิศทาง(Omni-Direction) เป็นแสงเลเซอร์ มากกว่า 10 เส้นอยู่ในแนวขนานและตัดกันไปมาเหมือนตาข่ายทำให้สามารถอ่านบาร์โค้ดได้หลายทิศทาง

มาตรฐาน บาร์โค้ดประเภทต่างๆ

  บาร์โค้ดมีหลากหลายมาตรฐานในการจัดทำ สิ่งที่เหมือนกัน คือ รูปร่างเป็นแท่งขาวสลับดำ ที่มีความห่างแตกต่างกัน
แต่สิ่งที่แตกต่างคือ ขนาดของความยาว,ความสามารถในแปลตัวอักษร บางชนิดอาจจะแต่ตัวเลข บางชนิดใช้ได้
ทั้งตัวเลขและตัวอักษร
การเลือกใช้มาตรฐานบาร์โค้ด
เริ่มต้นจากธุรกิจ ก็ต้องดูที่คู่ค้า ที่ต้องมีการใช้โค้ดร่วมกัน มีการใช้แบบเจาะจง เราใช้ตามคู่ค้าของเราก็ยอมเป็นผลดี
ต่อการใช้งานร่วมกัน
แต่หากใช้เฉพาะภายในองค์กร ก็แล้วแต่ ผู้ที่รับผิดชอบจะตัดสินใจว่าจะใช้แบบใด บางมาตรฐานจะต้องมีformatตายตัว
บางครั้งใช้งานไม่สะดวก บางแบบมีformatที่ยืดหยุ่นผู้ใช้สามารถเลือกพิมพ์ด้ามต้องการก็มี มาตรฐานกับงานที่นิยมใช้มีดังนี้
1. สำหรับสินค้าปลีก,ซุปเปอร์มาร์เก็ต : UPC,EAN,ISBN-13
2. ไปรษณีย์ (อเมริกา) : POSTNET
3. สำหรับงานลอจิสติก ชิบปิ้ง สินค้าคงคลัง การกระจายสินค้า : Code128,Code39,Interleaved 2of5 (ITF)

มาตรฐานบาร์โค้ด 1D

 
1. 2 of 5 (non-interleaved)
ปัจจุบันพบน้อยมาก ยังมีการใช้อยู่บ้าง เช่น ตั๋วสายการบิน ห้องแลบภาพ 2 of 5 เป็นโค้ดที่ใช้ในการเข้ารหัสข้อมูลที่เก่าแก่ที่สุด
2 of 5 (non-interleaved) และ 2 of 5 (interleaved) หลายคนมักสับสน เพราะ 2 of 5 (interleaved) ยังมีความนิยมแพร่หลายอยู่
ซึ่งถือว่า เป็นคนละโค้ดกัน และเครื่องหรือโปรแกรมอาจจะไม่สนับสนุน ดังนั้นต้องดูให้แน่ใจว่าเป็น non-interleaved หรือ interleaved
2. bookland
เป็นบาร์โค้ดรุ่นเก่าที่ใช้กับพวกหนังสือ ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วย ISBN-13 บางครั้งสองคำนี้จะใช้เรียกแทนกัน
3. Codabar
เป็นบาร์โค้ด ที่ใช้ใน FED-EX,ห้องสมุด,ธนาคารเลือด
4. Code 128
จัดเป็นโค้ดที่มีความนิยมมาก มันมีความหนาแน่น กะทัดรัด การบีบข้อมูล ที่ดีกว่า Code39
Code 128 สามารถสนันสนุน ได้ 128 ASCII ตัว(ทั้งตัวเลขและอักษร) นิยมใช้ในงานชิบปิ้ง
มีการแบ่งกลุ่มเป็น3แบบคือ
set A : ASCII characters 00 to 95 (0-9, A-Z and control codes), special characters, and FNC 1-4
set B : ASCII characters 32 to 127 (0-9, A-Z, a-z), special characters, and FNC 1-4
set C : 00-99 (encodes each two digits with one code) and FNC1
หากต้องใช้ ตัวอักษร และ/หรือ ตัวเลข Code128 จึงที่เป็นที่เหมาะสมในการนำมาใช้งาน อีกทั้งมีความยืดหยุ่น
ในการบรรจุตัวอักขระ เพราะไม่ล๊อคตายตัว
สามารถพิมพ์อักษรหรือตัวเลขที่ต้องการได้เลย
5. Code 39 (Code 3 of 9)
เป็นโค้ดรุ่นเก่า แต่ยังมีความนิยมในการใช้งานอยู่ ใช้กับงาน Inventory และตรวจติดตาม สามารถบรรจุได้ทั้งตัวเลขและ
ตัวอักษร สามารถพิมพ์ได้หลายขนาด โดยแบบพื้นฐานจะรองรับอักษร A-Z ,0-9
6. Code 93
เป็นโค้ดที่ไม่ค่อยมีการใช้งาน ขนาดกะทัดรัด ใช้ในงานชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิค และเนื่องจาก ชื่อที่คล้ายคลึงระหว่าง
Code 93 และ Code 39 ซึ่งทำให้เข้าใจผิดได้ ดังนั้นหากมีการใช้งานในโค้ดดังกล่าว จะตัดซื้ออุปกรณ์หรือซอฟแวร์
ต้องแน่ใจว่า ตรงกับที่จะใช้งาน
7. EAN
EAN ย่อมาจาก European Article Number นิยมใช้กับสินค้าปลีก ใน สหรัฐ และ ญี่ปุ่น และแพร่หลายในอุตสาหกรรมค้าปลีก
ทั่วโลก
8. GS1-128 (EAN-128)
GS1-128 เป็นโค้ดพิเศษ ของ Code128 ที่มีการถอดรหัสกับระบบ GS1
9. Interleaved 2 of 5 (ITF)
เป็นโค้ดที่เป็น ตัวเลขเท่านั้น มีขนาดเล็ก เพราะมีการเข้ารหัสทั้งในแถบและช่องว่าง ใช้ในกล่องกระดาษลูกฟูกในอุตสาหกรรม
ขนส่งสินค้า
10. ISBN-13
เป็นโค้ดค้าปลีก พวกหนังสือ นิตยสาร หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่เกี่ยวกับหนังสือ โดยมีส่วนประกอบจาก EAN13และ supplemental code
5ตัว ซึ่งจะแสดง IDของหนังสือและราคาปก
11. ISSN
ใช้ในอุตสาหกรรมงานพิมพ์ วารสารอิเล็กทรอนิค
12. MSI Plessey
ตัวเลขสัญลักษณ์ ที่ใช้ในห้องสมุด
13.POSTNET
บาร์โค้ดที่ใช้ในการเข้ารหัสรหัสไปรษณีย์ของไปรษณีย์สหรัฐ ซึ่งมีแตกต่างจากบาร์โค้ดอื่น ๆ
มีความพิเศษที่แตกต่าง คือ จะมีความสูงของแท่งไม่เท่ากันและระยะห่างระหว่างแถบเท่ากัน
ซึ่งบรรจุึข้อมูลของรหัสไปรษณีย์และพื้นที่จัดส่ง
14. UPC
UPC ย่อมาจาก Universal Product Code ใช้มากกับสินค้าปลีกในสหรัฐและแคนนาดา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
15. Supplemental barcode
เป็นโค้ดที่เพิ่มเติมทางด้านขวา พบใน UPC, EAN หรือ ISBN-13 จะเป็นตัวอักขระที่เพิ่มมา2-5ตัว

มาตรฐานบาร์โค้ด 2D
1. QR-Code


QR (Quick Response) ประดิษฐ์คิดค้นโดย บริษัท เด็นโซ่เวฟ จัดเป็นบาร์โค้ดยอดนิยม ที่เครื่องอ่าน2Dทั่วไปทุกยี่ห้อ
สามารถสแกนได้ มักจะอ่านได้ดี และโปรแกรมsmartphoneหลายตัวก็สามารถอ่านได้ เรียกว่าสามารถอ่านได้ง่าย ซึ่งเราจะเคยพบสิ่งพิมพ์
ลงในสื่อต่างๆเมื่อสแกนมาก็เป็นที่อยู่เว็บ มีความหนาแน่นสูง ทำให้บรรจุอักษรได้มาบนพื้นที่เล็กๆ ขนาดจะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ทำให้พื้นที่น้อย
และไม่ต้องมีFormatในการบรรจุข้อมูล สามารถใส่ได้ตามต้องการ

2. MaxiCode


ประกอบด้วย จุดเหมือนรังผึ้ง รอบๆกระจาย วงกลมตรงกลาง พบในการใช้ส่งพัสดุของสหรัฐ ต้องใส่ข้อมูลลงตาม Formatที่กำหนด
3. PDF417

คิดค้นโดย Symbol Technologies บรรจุได้ถึงประมาณ 1100ตัว มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีแถบเริ่มต้นและแถบปิดท้าย
ทำให้กินพื้นที่มากขึ้นกว่าโค้ดอื่นๆ ไม่ต้องมีFormatในการบรรจุข้อมูล สามารถใส่ได้ตามต้องการ

4. Data Matrix

หากดูผิวเผินจะคล้ายกับ Qr code แต่จริงๆแล้วไม่เหมือนกัน การอ่านและถอดรหัสจะทำในเส้นทแยงมุุม(QR จะอ่านตามแนวตรง)
พบในผลิตภัณฑ์จากทางสหรัฐและยุโรป จุดอ่อน คือ ต้องใส่ข้อมูลลงตาม Formatที่กำหนด
      



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.esssyntech.com/index.php/Products-Knowledge/barcode-scanner-knowledge.html
http://www.telzel.com/know4.html
http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=2079&read=true&count=true 
http://www.prakan.ac.th/Link-Data/web-it/data/web%20dream/scanner.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น